สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้ว ว่าด้วยเรื่องหมากรุกญี่ปุ่นหรือโชงิ ( 将棋 shōgi) ซึ่งเป็นหมากรุกชนิดหนึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เล่นเกมหมากรุกเพื่อยึดราชาของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งกระดานจะเป็นแบบ 9×9 ผู้เล่นแต่ละคนจะมีหมาก 20 ชิ้น โดยจะตั้งหมากในช่องเรียงจากแถวล่างสุดไล่จากด้านซ้ายมือไป หมากทุกตัวยกเว้นขุนและทองจะสามารถเลื่อนยศได้ ทุกตัวที่เลื่อนยศได้จึงมีอักษร 2 ด้านครับ แต่วันนี้น่าจะไม่ได้พูดเรื่องวิธีเล่น เพราะแค่ตัวเดียวอาจคุยได้มากกว่าสองหน้ากระดาษเลย
พอดีกับที่ญี่ปุ่นได้แชมเปี้ยนโชงิ ที่เป็นเด็กอัจฉริยะอายุแค่ 19 ปี! ขอแสดงความยินดีกับแชมเปี้ยนสมญานามแชมป์สี่มงกุฎด้วยครับ เพราะผมเป็นคนญี่ปุ่นที่รักโชงิจึงคาดหวังการพัฒนาโชงิให้ดีกว่ากีฬา e-sports อีสปอร์ตต่างๆ โชงิยังใช้เล่นเป็นงานอดิเรกได้อีกด้วย ถ้าเราพูดถึงงานอดิเรกก็จะนึกถึงสิ่งที่เราชอบและมีความสุขที่ได้ทำสิ่งนั้นๆ ที่ญี่ปุ่นมีคำกล่าวว่า “สิ่งที่ชอบจะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เก่งและชำนาญ” คือเงื่อนไขสำคัญที่จะส่งเสริมให้คนเราเก่งขึ้นและถ้าเราชอบอะไร เราจะพยายามทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด
กลับกันยังมีคำกล่าวที่ว่า “ฉันไม่เก่งแต่ฉันชอบสิ่งนั้น ” คือบางคนถึงจะไม่เก่งเรื่องใดก็ตามแต่ใช้สิ่งนั้นเป็นแรงผลักดันและทำให้ตัวเองมีความกระตือรือร้นต่อไป ซึ่งก็เป็นคำที่ผมชอบเช่นกัน สำหรับผมกับโชงิคงต้องบอกว่า “ถึงผมจะเล่นหมากรุกญี่ปุ่นโดยไม่เก่งขึ้นเลย แต่ผมจะเล่นต่อไป เพราะผมชอบ” ผมรู้จักโชงิเพราะลุงๆ คอเหล้าลูกค้าร้านคุณยายสอนให้ตั้งแต่ผมเรียนโรงเรียนอนุบาลชั้นสีน้ำเงิน ( โรงเรียนอนุบาลมีสัญลักษณ์เป็นสีๆ ตามอายุ เช่น เด็กน้อย สามปีสีแดง ,สี่ปีสีเหลือง, ห้าปีสีน้ำเงิน, หกปีสีเขียว)
คนทุกคนอยากทำสิ่งที่ตัวเองรักราวกับว่าเรากำลังทำงานเลี้ยงชีพ ทำงานในองค์กรได้สนุกเหมือนตอนที่ทำงานอดิเรก แต่ความจริงมันโหดร้ายและไม่ใช่แบบนั้น เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วทุกคนทราบดีถึงเรื่องนี้ ผู้ใหญ่ทราบดีว่า ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ จากการทำสิ่งที่เป็นงานอดิเรกเพียงอย่างเดียว (・ ω ・ ` )ใช่ไหมครับ เมื่อถามถึงอาชีพที่นักเรียนชั้นประถมศึกษายุคนี้อยากเป็นเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น เด็กๆ ญี่ปุ่นบอกว่าอยากเป็นYoutuber และเป็นนักเล่น e-sports มืออาชีพ เผยให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมุมมองของเด็กๆ และผู้ใหญ่ได้จริงๆ พ่อแม่อาจจะห้าม ไม่ใช่เพราะไม่เข้าใจ แต่อาจจะเป็นเพราะความรักใคร่ของพ่อแม่ที่เป็นห่วงกลัวลูกจะไม่มีงานทำด้วย
ญี่ปุ่นเคยมีเกมฮิตมากมายที่ผลิตออกมาจำนวนมาก ซึ่งที่จริงมันควรจะอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในการพัฒนาและส่งเสริม e-sports ต่อไป แต่ดูแล้วก็พัฒนาไปไม่มากเท่าที่ควร การฝึกทักษะบางอย่างไม่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพเลี้ยงดูตัวเองได้ ผมคิดว่าจะอธิบายเปรียบเทียบโดยใช้โชงิเป็นตัวอย่าง ครับ
ซึ่งความคล้ายคลึงกันระหว่างโชงิและอีสปอร์ตในแง่ของการทำเพื่อเป็นอาชีพนั้นในความคิดผมมี 3 เรื่อง คือ
1. เล่นเพื่อระดมเงินจากอีกฝ่ายโดยการพนันระหว่างบุคคล
2. เข้าสู่การแข่งขันและเริ่มทำเป็นธุรกิจ
3. เปิดสอนทักษะให้ผู้เรียนที่สนใจ (ข้อ 3 ขอละเว้นจากคำอธิบาย)
โลกของเกมนั้นยาก และโลกของปรมาจารย์เกม 勝負師 Shōbushi → ที่มักแปลว่านักพนันนั้นน่าสนใจ น่าเสียดายที่ข้อ 1 เป็นโซนสีเทาหรือผิดกฎหมายในญี่ปุ่น (เคยมีเซียนพนันโชงิที่เรียกว่าเป็นปรมาจารย์ที่จริงจังมาก่อนจนกระทั่งเมื่อประมาณ 40- 50 ปีที่แล้ว) ดังนั้นหากต้องการเป็น “มืออาชีพ” ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องไปเวทีแข่งขันเพื่อให้ชนะและได้รับเงินรางวัล เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป เช่น กอล์ฟ การเล่นพนัน เช่นไพ่นกกระจอกและโป๊กเกอร์ บิลเลียด โชงิ และอีสปอร์ต ก็เช่นกัน
ปัจจุบันนี้มีผู้เชี่ยวชาญโชงิเพียง 200 คนเท่านั้น ส่วนใหญ่เข้ามาในวงการนี้ตั้งแต่เด็กเล็ก นักเรียนชั้นประถมศึกษาและเริ่มต้นแข่งขันอย่างจริงจังกับคู่แข่งเพื่อให้ได้เป็นมืออาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นโลกที่ยากลำบาก และถ้าไม่ชอบจริงๆ ก็จะทำไม่ได้ ตามปกติถ้าต้องการประกอบอาชีพใด ส่วนใหญ่จะต้องเรียนหลักสูตรนั้นๆ เพื่อให้ได้ทำวิชาชีพนั้นใช่ไหม จึงมีความเสี่ยงสูงมากในการเลือกเรียนการเล่นโชงิเพื่อเป็นอาชีพ ซึ่งต่างจากการเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติอื่นๆ เช่น แพทย์ ทนายความโปรแกรมเมอร์ ฯลฯ ที่แม้จะเก่งเป็นลำดับถัดจากอันดับที่ 200 ในญี่ปุ่นก็สามารถใช้ประกอบวิชาชีพเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ ไม่เป็นปัญหาใดๆ ในชีวิต แต่สำหรับนักโชงินั้นแทบจะไม่สามารถบอกคนอื่นได้เต็มปากนักว่า ผมคือเด็กคนที่ 201 ที่เก่งเรื่องโชงิ มันพูดยาก!
การเล่นหมากรุกนั้นมีมานานนับพันปี แต่กฏที่ใช้สำหรับโชงิสมัยปัจจุบันมีประวัติยาวนานประมาณ 100 ปี ในวงการกีฬาหากคุณเป็นนักชกที่แข็งแกร่งสุดในเมือง ยังมีงานทำแม้หลังเกษียณ แต่ทักษะที่คนญี่ปุ่นฝึก เช่น 送りバント okuri banto (เทคนิคอย่างหนึ่งของกีฬาเบสบอล) ซึ่งมีผู้เล่นที่ได้สถิติโลกบางคนฝึกฝนทักษะ okuri banto จนชำนาญ แต่ถ้าเขาเกษียณขึ้นมาทักษะที่เค้าฝึกมานี้ไม่สามารถช่วยให้เขาหางานใหม่ได้ จะเปรียบเทียบให้เห็นว่าการเล่นเกมตลอดเวลาฝึกบางทักษะตลอดเวลาถึงจะเก่งมากในเรื่องนั้น แต่ว่าวันหนึ่งอาจจะไม่สามารถนำทักษะนั้นมาหาเลี้ยงชีพหรือว่าหางานใหม่ได้นั่นเอง
*การเล่นโป๊กเกอร์และไพ่นกกระจอกเกี่ยวข้องกับโชคด้วย บางทีมือสมัครเล่นอาจเอาชนะมืออาชีพได้ แต่เกมโชงิและการต่อสู้สะท้อนถึงความสามารถของพวกเขาอย่างชัดเจน และนี่คือเสน่ห์และจุดที่ยอดเยี่ยมของโชงิ จากข่าว 藤井聡太 Souta Fujii โซตะ ฟูจิอิ แชมป์สี่มงกุฎมีอายุแค่ 19 ปี ได้รับการบันทึกว่ามีอายุน้อยที่สุด เขาเป็นเด็กอัจฉริยะตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ถึงขั้นกล่าวกันว่าให้ออกมาเล่นโชงิจริงจังดีกว่าเพราะเป็นการเสียเปล่าที่จะเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่เขาประสบความสำเร็จอย่างมากในขณะที่ยังรักษาสมดุลของการเรียนได้ด้วยอัศจรรย์เหลือเกิน
ปกติแล้วการแข่งขันเกมโชงิ มักจะจัดขึ้นเป็นเวลาสองวันที่โรงแรมที่มีชื่อเสียง แต่แปลกที่อาหารที่ฟูจิอิรับประทานระหว่างการเข้าแข่งขันมักจะถูกสื่อสังคมโซเชียลมีเดียพูดถึงอย่างมาก เช่น เรื่องสเต็ก ก็จะมีคนคุยกันเรื่องสเต็กที่เขากิน มากกว่าคุยเรื่องเนื้อหาของโชงิ ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่รวมทั้งตัวผมเองไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาของโชงิได้อย่างละเอียด
* โชงิใช้กฎเดียวกัน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลาหลายร้อยปีโดยไม่มีกฎท้องถิ่นใดๆ นับว่าเป็นเรื่องน่าทึ่งที่กฎเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยที่โนบุนางะอยู่ในญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้วมาจนถึงทุกวันนี้
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่รู้กฏของโชงิ แต่ผมก็ไม่เข้าใจความหมายของการแข่งขันระหว่างผู้เล่นระดับสูงนัก มนุษย์ 99.9% ไม่สามารถเอาชนะ AI ได้แม้แต่ในเกมโชงิ ผมดูโชงิของฟูจิอิในวิดีโอและตามคำวิจารณ์ ฟูจิอิน่าทึ่งมากเมื่อเขาทำสิ่งที่ AI คิดไม่ถึง! ปัจจุบันคนญี่ปุ่นสามารถเล่นโชงิได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนเรียกได้ว่าเป็น 棋力 คิเรียวคุ เหตุผลก็คือมีแอพโชงิและได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย ขนาดผู้แข่งขันทั้งหลายที่มีความเชี่ยวชาญยังต้องคอยแอบดูจากแอพในห้องน้ำระหว่างการแข่งขันว่าควรเดินหมากไหนและทำอย่างไรต่อดี … มนุษย์แทบจะเอาชนะ AI ไม่ได้อีกต่อไป น่าจะมีคนรู้จักเรื่อง TAS หรือโปรแกรมที่ใช้ในการป้อนข้อมูลการควบคุมเกม เป็นการเล่นแบบช่วยเหลือด้วยเครื่องมือ มีคนอัพเกมไว้มากมาย TAS โชงิก็ยังมี แต่ผมก็ไม่ค่อยตื่นเต้นนัก
* และโชงิไม่มีการอัพเดตตัวหมากเหมือนเกม (ถือว่ายอดเยี่ยมมากเช่นกัน) เนื่องจากไม่มีการเพิ่มตัวละครใหม่ๆ และเปลี่ยนอัพเดตแนวทางการเล่นเหมือนในเกม ที่มีกลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาไปเรื่อยๆ เกมซีซั่นใหม่ เวอร์ชั่นใหม่ตัวอย่างเช่น ver.17.2.5 ก็จะมีลูกเล่น มีไอเทมใหม่ ตัวละครใหม่ หรือมีนิวเคลียร์ (核 Ka ↑ ku ↓ นิวเคลียร์) แต่โชงิมีกากุ (角 Ka ↓ ku ↑) ( ゚д゚)
* ดังกล่าวผมคิดว่าโชงิมีความน่าสนใจและมีเสน่ห์ในตัวเอง! เพียงแค่ขยับหมากแต่ละตัว คำอธิบายแต่ละหมากนั้นยิ่งใหญ่มาก แต่ถ้าถามคนที่เคยเล่นมาก่อนแล้ว รวมถึงชาวต่างชาติด้วย แม้ทุกคนจะสนใจแต่ก็มักพูดว่า “มันดูยากและน่าเบื่อ” อย่างไรก็ตามโชงิสามารถเริ่มต้นเล่นได้ทุกเพศทุกวัยถ้ามีโอกาสต้องลองเล่นดูครับ และก่อนหน้านี้ผมเคยเห็นโชงิวางขายในร้านร้อยเยนด้วย ซึ่งเป็นการดีที่จะนำมาใช้ตกแต่ง หรือใช้เป็นของฝากของที่ระลึกของญี่ปุ่นได้ อย่างงานฝีมือโชงิของเมืองเทนโดะ จังหวัดยามากาตะถือเป็นโชงิที่มีชื่อเสียงมากครับ
พวก e-sports ที่เคยสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ใช้และผู้เล่น มีอัพเวอร์ชั่นใหม่ เรื่อยๆ เวอร์ชั่นเก่าก็เก่าไปไม่ได้เอามาเล่น จึงไม่ค่อยขยายวงกว้าง และดูเหมือนว่าเกมจะไม่พัฒนาไปมากกว่านี้เท่าไหร่ในญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อเทียบกับโชงิจึงน่าเสียดาย ไม่น่าปล่อยให้การพัฒนา e-sports เสียไปเช่นกัน ส่วนโชงินั้นจะถือว่าเป็นงานอดิเรกที่ดี แต่มันอาจไม่ได้ช่วยให้ได้งานทำและไม่ทำให้กลายเป็นหนุ่มเจ้าเสน่ห์ แต่ที่จริงแล้วคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบและรักโชงิครับ อาจจะพัฒนาต่อเนื่องไปได้และหวังว่าจะพัฒนาให้มากกว่าที่เป็น วันนี้เล่าสู่กันฟังครับ สวัสดีครับ