อว. จับมือ อินโฟเฟด จัดหลักสูตรปั้นอาชีพใหม่ ป้อนวงการอีสปอร์ต

This image is not belong to us

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือ บริษัท อินโฟเฟด จำกัด ผุดหลักสูตร Zero to Hero ภายใต้โครงการแข่งขัน UEC University eSports Championship ลีกแรกของปี 63 เตรียมปั้น 3 อาชีพใหม่ eSport Pro-Player, Content Creator และ Production Organizer ตั้งเป้าสร้างอาชีพใหม่เยาวชน ป้อนวงการอีสปอร์ตมากกว่า 200 คนภายในปี 2563

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า อว. มีบทบาทที่สำคัญประการหนึ่งคือ การสร้างคน โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งตลาดอีสปอร์ตก็เป็นเป้าหมายหนึ่งของ อว. เพราะประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 3 ของอาเซียนที่แข็งแกร่งและเป็นผู้นำเรื่องของอีสปอร์ต ซึ่งวงการนี้มีแนวโน้มเติบโตสดใสอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

ที่สำคัญสามารถดึงดูดให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมได้มาก เพราะได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และยังเป็นตัวอย่างหนึ่งของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่เป็นรูปธรรมที่สุด ดังนั้นความร่วมมือกับบริษัท อินโฟเฟด จำกัด ภายใต้โครงการ UEC University eSports Championship ถือได้ว่าสอดรับและตอบโจทย์วิสัยทัศน์และพันธกิจของ อว.ที่มุ่งพัฒนาเยาวชนไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สู่ความก้าวหน้าของบุคลากรในประเทศให้มีมาตรฐานในระดับสากล

This image is not belong to us

ด้าน ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเสริมว่า ขณะนี้หลายมหาวิทยาลัยเอกชนเริ่มมีการนำอีสปอร์ตผนวกในวิชาเรียนแล้วขณะที่การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2564 ก็จะมีการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตรวมอยู่ด้วย คาดว่าอนาคต หลักสูตรอีสปอร์ตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญในวงการนี้ก่อน จึงจะเกิดเป็นธุรกิจ และสร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม

ขณะที่ นายจิรยศ เทพพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท อินโฟเฟด จำกัด เปิดเผยว่า หลักสูตร Zero to Hero เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ UEC University eSports Championship ที่จัดขึ้นครั้งแรกของปี 2563 เพื่อสอดรับกับการเติบโตที่รวดเร็วของวงการอีสปอร์ต ทำให้มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ทำงานด้านอีสปอร์ตโดยเฉพาะ ซึ่งหลักสูตรเป็นการส่งเสริมเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ ความสามารถ และได้เรียนรู้ถึงอุตสาหกรรมอีสปอร์ตในทุกรูปแบบผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ eArena โดยมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาชีพในวงการมาถ่ายทอดให้ความรู้เตรียมพร้อมสู่ 3 อาชีพใหม่ ได้แก่

1.นักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพ หรือ eSport Pro-Player เพราะความนิยมต่ออีสปอร์ตนับวันยิ่งเพิ่มขึ้น

2.อาชีพนักสร้างสรรค์เนื้อหา หรือ Content Creator ถือเป็นอาชีพที่ติด 1 ใน 5 อาชีพที่คนรุ่นใหม่อยากจะเป็นในช่วงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น streamer youtuber influencer ในโลกออนไลน์ เรียนรู้สกิลการทำคอนเท้นต์ ทำอย่างไรให้น่าสนใจ สามารถต่อยอดได้ไปทั่วโลกโดยมีแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์เข้ามาซัพพอร์ต

3.อาชีพ Production Organizer เป็นอาชีพที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เรียนรู้การทำไลฟ์สตรีมมิ่ง เรียนรู้การทำกราฟฟิกแบบเรียลไทม์ เรียนรู้เทคโนโลยี VR AR อาชีพนี้มีความต้องการสูงมากโดยเฉพาะในยุคโควิด ที่ทุกอย่างต้องอยู่บนออนไลน์

This image is not belong to us This image is not belong to us

นานจิรยศ กล่าวต่อว่า ตั้งเป้าเยาวชนป้อนตลาดอีสปอร์ตกว่า 200 คน ซึ่งเป็นจำนวนนิสิตนักศึกษา ที่คาดว่าสมัครเข้ามาร่วมโครงการแล้วเกิดแรงบันดาลใจอยากต่อยอดอาชีพ โดยโครงการจะสนับสนุนเส้นทางอาชีพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการให้มีโอกาสทำงานในบริษัทสตาร์ทอัพ ทั้งในและต่างประเทศ คาดว่าจะเป็นการทำให้ธุรกิจอีสปอร์ตเติบโตมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์รายได้ในปี 2566 จาก Newzoo บริษัทวิจัยการตลาดที่เกาะติดวงการอีสปอร์ตและเกมประเมินว่า รายได้ของวงการอีสปอร์ตทั่วโลกในระยะยาว เป็นผลมาจากความนิยมต่อเนื่องจากช่วงโควิด-19 จากทั้งผู้ชมและผู้จัดหน้าใหม่ แต่อีสปอร์ตในประเทศไทยถึงแม้ได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาเมื่อปี 2560 ผลสำรวจ Global entertainment and media outlook ของไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส (PwC) ได้คาดการณ์ ไว้ว่าในปี 2564 รายได้อีสปอร์ตทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง 874 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 21.7% (ในช่วงปี 2560-2564) ซึ่งอุตสาหกรรมเกมที่เติบโตรวดเร็วในระดับโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตของไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน