กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากบรรดาคอลูกหนังหลังจากการหารือประชุมเพื่อเป้าหมายของการกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในการแข่งขันซีเกมส์ 2023 ที่ประเทศกัมพูชา โดยทางตัวแทนของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ทำแผนดำเนินการเก็บตัวนักเตะทีมชาติไทยพร้อมกับแผนงานซื้ออุปกรณ์ รวมถึงแผนการเดินทางไปเก็บตัวฝึกซ้อมและอุ่นเครื่อง ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์(ยูเออี) ในเดือนมีนาคม 2566 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 6,687,000 บาท รวมกับงบประมาณค่าใช้จ่ายส่งแข่งขัน ประมาณทั้งสิ้น 11,121,600 บาท ขณะนี้สมาคมกีฬาฟุตบอลยังขาดงบประมาณ จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
ด้านสมาคมกีฬาฟุตบอลฯออกมาเปิดเผยถึงงบประมาณว่า เรื่องงบประมาณ ทาง กกท. ขอให้ปรับเปลี่ยนเอกสารให้เข้ากับหมวดที่เกี่ยวข้องและอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามระเบียบที่ กกท. สามารถให้เบิกจ่ายได้ ซึ่งในตอนแรกสมาคมฯ นั้นต้องการ นำเสนอค่าใช้จ่ายจริงที่สามารถอ้างอิงได้จากปีก่อน ทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ สนามซ้อม เบี้ยเลี้ยง การเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์อุ่นเครื่อง (ถ้ามี) เพื่อให้ กกท. เห็นว่าค่าใช้จ่ายก็ยังมีมากพอสมควรที่ยังไม่ครอบคลุมอยู่ในระเบียบปัจจุบัน ก็ได้รับการแนะนำเป็นอย่างดี ซึ่งได้ปรับแก้และส่งกลับไปให้ กกท.พิจารณาแล้ว
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ม.ค.65 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ สมาคมฟุตบอลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงร่วมกันสนับสนุนและผลักดันความสำเร็จในกีฬาฟุตบอลของทั้งสองประเทศ โดยการลงนามครั้งนั้น พล.ต.อ. ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ลงนามร่วมกับ ชีค ราชิด ฮูเมด อัลนูไอมี นายกสมาคมฟุตบอลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นผู้ลงนาม ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์
รายละเอียดบันทึกข้อตกลง
– จัดการเเข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร
– การเก็บตัวของทีมชาติไทยทั้งชาติและหญิง
– พัฒนาและเเลกเปลี่ยนความรู้ บุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬารวมถึงเวชศาสตร์การกีฬา
– พัฒนากีฬาฟุตบอลในระดับเยาวชน
– การก่อสร้างสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวกับฟุตบอล
– ความร่วมมือด้านการจัดอบรมสำหรับผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และการใช้ Video Assistant Referee (VAR)
ที่มาของภาพ : siamsport