eSport Sponsored
Categories: DOTA2

KLEVV DDR5 แรมพื้นฐาน 4800MT/s ประกอบคอมใหม่ เร็ว ใช้งานง่าย

eSport Sponsored
eSport Sponsored

KLEVV DDR5 แรมพื้นฐาน 4800MT/s ประกอบคอม Intel Gen 12 รุ่นใหม่ ใช้งานง่าย เข้าได้กับเมนบอร์ดในตลาด เม็ดแรมคุณภาพ SK Hynix ปรับแต่งง่าย

KLEVV DDR5 จัดเป็นแรมรุ่นใหม่ ที่ออกแบบมาให้เข้ากับระบบของแพลตฟอร์ม Intel Gen 12 ได้อย่างลงตัว อย่างที่เราได้ทราบกันดีว่า แรม DDR5 นั้น ลดการใช้พลังงานลงจาก DDR4 อยู่ประมาณ 20% ทำให้แรงดันไฟอยู่ที่ประมาณ 1.1V เท่านั้น แต่ก็ให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ด้วยแรมระดับพื้่นฐานจากเม็ดแรมและคอนโทรลเลอร์ที่มีคุณภาพ DDR5 ของ KLEVV รุ่นนี้ จึงมาพร้อมกับความเรียบง่าย ไร้โครงสร้างโลหะห่อหุ้มหรือช่วยในการระบายความร้อน สนับสนุนมาตรฐาน JEDEC บนความเร็ว 4800MT/s ใช้เม็ดแรมจาก SK Hynix อันเป็นที่ทราบกันว่าประสิทธิภาพที่ดี และเสถียรภาพอยู่ในระดับที่วางใจได้ มาพร้อม QVL AppRoVed (Qualified Vendors List) ทำให้รองรับการใช้งานร่วมกับแพลตฟอร์มเมนบอร์ดจากค่ายต่างๆ ได้เต็มที่ และฟีเจอร์ที่ช่วยในการปรับปรุงด้านพลังงานอย่าง PMIC (Power Management Integrated Circuit) จัดการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม แต่ถ้าใครที่ชื่นชอบความสวยงามของฮีตซิงก์ที่ติดอยู่กับตัวแรม ในอนาคตทาง KLEEV ก็เตรียมแรมในซีรีส์อื่นๆ เอาไว้เช่นเดียวกับใน DDR4 ที่มีทั้ง CRAS, BOLT และ BOLT X เป็นต้น รวมถึงรุ่นที่มีแสงไฟ RGB ด้วยเช่นกัน


จุดเด่น

  • ติดตั้งง่าย เข้ากันได้ดีกับเมนบอร์ด
  • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง
  • เพิ่มช่องว่างในการระบายอากาศ
  • ปรับแต่งได้ง่าย

ข้อสังเกต

  • ไม่มีฮีตซิงก์ระบายความร้อน ดูเรียบๆ ไม่หวือหวา

KLEVV DDR5 4800 UDIMM 32GB

  • Specification
  • Design
  • Install
  • BIOS
  • Performance
  • Game performance
  • Conclusion

Specification

  • Format: DDR5 Unbuffered DIMM
  • Capacity: 16GB(16GBx1), 32GB(16GBx2)
  • Speed: 4800MT/s
  • Dimension: (L) 133.35 x (W) 31.25 x (H) 3.18 (mm)
  • Warranty: Limited Lifetime Warranty
  • Latencies: 40-40-40-77
  • Voltage: 1.1V
  • Operating Temperature 0 celcius to 85 celcius

Design

หน้าตาของแพ๊คเกจ KLEVV U-DIMM DDR5 รุ่นนี้ ออกแบบมาค่อนข้างเรียบง่าย ตามคอนเซปต์ของรุ่นนี้ เป็นพลาสติดใส โชว์หน้าตาของแรมให้เห็นอย่างชัดเจน ด้านหน้ามีรายละเอียดมาให้เล็กน้อย อาทิ ความจุ 32GB (16GB x2) 4800 และมีโลโก้ Creative Evolution มาที่ด้านบน

ส่วนโมดูลแรมมาในแบบ 2 สล็อตชุดคิท ความจุ 16GB จำนวน 2 โมดูลด้วยกัน ส่วนหน้าสัมผัสยังคงเป็น 288-pins แบบเดียวกับ DDR4 แต่ใช้สล็อตที่ต่างกัน ใส่ร่วมกันไม่ได้

โมดูลแรมเป็นสีดำตลอดทั้งแผง ไม่ว่าจะด้านหน้าหรือหลัง โดยที่ด้านหน้าจะมีลาเบลที่เป็นชื่อแบรนด์ KLEVV รุ่นรหัส KD5AGUA80-48G400D บอกเสปคไว้ที่ DDR5 4800 CL 40-40-40 16GB 1.1V

โชว์เม็ดแรมจาก SK Hynix ที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ระดับโลก ติดตั้งมาบนแรม KLEVV ชุดนี้ ซึ่งในเบื้องต้น เท่าที่เช็คดู ยังไม่มีข้อมูลในเชิงลึกของเม็ดแรมชุดนี้

โดยเม็ดแรมของ Hynix ที่ติดตั้งมาบนโมดูลแรมทั้ง 2 แถวนี้ จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าเท่านั้น จำนวน 8 ชิ้นต่อโมดูลด้วยกัน

เม็ดแรมที่มีมาให้นี้ จะเป็นแบบ 2GB จำนวน 8 ชิ้น ซึ่งรวมแล้วเท่ากับ 16GB ต่อโมดูล โดยด้านหลังจะเป็นแผงที่ว่างเปล่า ไม่ได้ติดตั้งแรมมาด้วย

นอกจากนี้บนตัวโมดูลแรม DDR5 จาก KLEVV รุ่นนี้ ยังมาพร้อมเทคโนโลยีที่เรียกว่า PMIC หรือ Power Management Integrated Circuit สำหรับจัดการพลังงานจากเมนบอร์ดมายังแรม เพื่อให้โหลดที่ได้มีประสิทธิภาพและทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งโดยปกติบนแพลตฟอร์ม DDR4 ชุดจัดการพลังงานนี้ จะอยู่บนเมนบอร์ด แต่ DDR5 จะถูกย้ายมาไว้บนโมดูลแรม

KLEVV U-DIMM DDR5 รุ่นนี้มาพร้อม QVL AppRoVed (Qualified Vendors List) ทำให้รองรับการใช้งานร่วมกับแพลตฟอร์มของเมนบอร์ดชั้นนำค่ายต่างๆ ได้เต็มที่ เรียกว่าเข้ากันได้ ใช้งานง่ายขึ้น


Install

มาดูกันที่การติดตั้งแรมบนสล็อตของเมนบอร์ดกันบ้าง โดยในครั้งนี้เราใช้เมนบอร์ดในแบบ Mini-ITX จากทาง ASRock ซึ่งมีสล็อตแรมมาเพียง 2 เท่านั้น ซึ่งข้อดีของแรมที่ไม่มีซิงก์หรือ Heat spreader ในการระบายความร้อนก็คือ ติดตั้งได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่แคบๆ อย่างที่เห็นในระบบของเรานี้ ซึ่งมีพัดลมของ Radiator ที่เป็นชุดน้ำขวางอยู่ด้วย ก็ยังจัดวางใส่สล็อตได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้ยังมีช่องว่างมากขึ้น ในการระบายอากาศระหว่างสล็อต รวมถึงช่องเล็กๆ ที่ไม่เบียดกับฮีตซิงก์หรือ Water block มากจนเกินไป เหมาะอย่างยิ่งกับคนที่ใช้เคสเล็กๆ หรือมีพื้นที่ภายในจำกัด


BIOS

เมนบอร์ดจาก ASRock รุ่นนี้ สามารถตรวจเช็คและมองเห็นแรม KLEVV DDR5 4800 16GB จำนวน 2 แถวได้ตามปกติ ตั้งแต่บูตระบบ

นอกจากนี้ด้วยความเป็นเมนบอร์ดที่รองรับการปรับแต่ง รวมถึงใช้ชิปเซ็ตตัวท็อปอย่าง Intel Z690 พร้อมการออกแบบระบบการตั้งค่าที่ดี ทำให้ผู้ใช้เลือกปรับเพิ่มความเร็วของแรมได้อีกด้วย ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับได้มากกว่า DDR5 6400 เลยทีเดียว สำหรับการโอเวอร์คล็อกแรม

ในที่นี้เราลองปรับขึ้นไปเป็น DDR5 5200 ระบบก็สามารถเพิ่มความเร็ว และตรวจเช็คจาก BIOS ได้อีกด้วย

แต่ความพิเศษของแรม ยังไม่ใช่แค่นั้น เพราะเราได้ลองดันขึ้นไปอีก กับตัวเลขในระดับ DDR5 5600 ซึ่งผลที่ได้ก็คือ…

ผ่านเข้าสู่การทำงานบนความเร็ว DDR5 5600 ได้ตามปกติ และเข้าสู่โหมดการทดสอบต่างๆ อย่างมีเสถียรภาพอีกด้วย นับว่าไม่ธรรมดาเลย สำหรับแรมรุ่นนี้ เพิ่มความเร็วได้อีกไม่น้อยเลย ด้วย โดยข้อมูลที่เราได้จากผู้ผลิตมานี้ อาจทำความเร็วได้ถึง DDR5 7000 แต่ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ และการระบายความร้อนเป็นพิเศษ ซึ่งหากคุณใช้งานธรรมดาทั่วไป เท่านี้ก็รองรับการทำงานได้ดีมากแล้ว


Performance

โดยพื้นฐานของแรม DDR4 นั้น จะถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับข้อมูลในแบบ 64-bit single-channel แต่แรม DDR5 จะทำงานในแบบ 32-bit แต่อยู่ในรูปแบบ dual-channel ทำให้แม้ว่าจะติดตั้งแบบโมดูลเดียวหรือ 2 โมดูล ก็ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น

ระบบที่ใช้ในการทดสอบ

  • ซีพียู Intel Core i5-12600K
  • เมนบอร์ด ASRock Z690 PHANTOM Gaming-ITX TB4
  • แรม KLEVV U-DIMM DDR5 4800 32GB (16GB x2)
  • การ์ดจอ Radeon RX 6500 XT
  • เพาเวอร์ซัพพลาย DEEPCOOL DQ850M-V2L 850Watts
  • เคส Standard Mid-Tower

มาดูรายละเอียดจาก CPUz กันก่อน โดยซีพียูที่เราใช้เป็น Intel Core i5-12600K ที่ทำงานบนเมนบอร์ดสำหรับ DDR5 จากทาง ASRock Z690 Phantom Gaming-ITX/TB4 เป็นเมนบอร์ดขนาด mini-ITX แต่ให้ฟีเจอร์และการปรับแต่งได้แบบสุดๆ เลยทีเดียว

KLEVV U-DIMM DDR5 4800
KLEVV U-DIMM DDR5 5600

มาดูกันที่แรมกันบ้าง จากภาพด้านบน เราใช้แรมที่เป็นค่า settings เดิมๆ โดยจะทำงานที่ DDR5 4800 และมีค่า CL 40-40-40-77 และภาพถัดมาจะเป็นแรม KLEVV ที่เราปรับเพิ่มความเร็วจาก BIOS ให้มาเป็น DDR5 5600 ซึ่งค่า CL ที่ระบบปรับให้อัตโนมัติ จะออกมาเป็น 47-47-47-89 ซึ่งขยับเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย

KLEVV DDR5 4800

มาดูในการทดสอบกันบ้าง จากภาพด้านบนกับการทดสอบด้วย AIDA64 โปรแกรมทดสอบ Performance ของฮาร์ดแวร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขที่ได้จากการทดสอบบน DDR5 4800 อยู่ที่ 71136 MB/s (Read), 68313 MB/s (Write) และ 66859 MB/s (Copy)

KLEVV DDR5 5600

ส่วนภาพด้านบนนี้ หลังจากที่เราลองปรับเพิ่มความเร็วมาเป็น DDR5 5600 แล้ว แรม KLEVV รุ่นนี้ ก็แสดงศักยภาพออกมาได้มากขึ้น ด้วยความเร็วของตัวเลขที่ปรากฏทั้ง Read, Write และ Copy ซึ่งก็ทำแบนด์วิทธิ์ออกมาได้สูงกว่า ความเร็วเดิมๆ พอสมควร ตามตัวเลขที่ปรากฏในผลทดสอบ Memory นี้

KLEVV DDR5 4800
KLEVV DDR5 5600

มาถึงการทดสอบในยภาพรวมของระบบ บนโปรแกรม PCMark10 กันบ้าง ตัวเลขของผลทดสอบ Overall อาจไม่ได้ต่างกันมากนัก แต่ในรายละเอียดอย่าง Productivity และ Digital Content Creator บนแรมที่เพิ่มความเร็วไปถึง DDR5 5600 นั้น สามารถทำให้ผลรวมในการทำงานด้านวีดีโอ และงานเอกสารต่างๆ ออกมาได้ดีขึ้น

ในการทดสอบด้วย Geekbench 5 ตัวเลขหลักของคะแนนที่เน้นไปทางซีพียู ก็จัดว่าทำได้น่าสนใจ

KLEVV DDR5 4800

มาที่การทดสอบ RAM บน PerformanceTest 9.0 หรือ Passmark กันบ้าง ก็จัดว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรม ที่ให้ผลการทดสอบแรมได้ชัดเจน ภาพด้านบนนี้ เป็นตัวเลขของ Memory Mark ในแบบ Overall อยู่ที่ 3608 ส่วนค่า Memory Read อยู่ที่ 19,525 และ Write 16,031

KLEVV DDR5 5600

แต่เมื่อเราลองขยับความเร็วมาที่ DDR5 5600 ตัวเลขที่ได้ก็ปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นคะแนน Overall หรือจะเป็น Read, Write ก็ทำได้ดีขึ้นไม่น้อยเลย

ในการทดสอบ 3DMark Fire Strike คะแนนรวมอยู่ที่ 13,702 ส่วน Fire Strike Extreme อยู่ที่ 6488

ส่วนการทดสอบ 3DMark Time Spy ตัวเลขอยู่ที่ 5518 และ Time Spy Extreme อยู่ที่ 2505 คะแนน

KLEVV DDR5 4800
KLEVV DDR5 5600

และการทดสอบด้วย Memory Benchmark บนโปรแกรม OCCT กับตัวเลขด้านบน ความเร็ว DDR5 4800 คะแนนในส่วน Read 1639.1 และเมื่อเพิ่มความเร็วมาเป็น DDR5 5600 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1751.38 เรียกว่าประสิทธิภาพก็เพิ่มขึ้นมาได้ง่ายๆ แค่เพียงปรับแต่งความเร็วของแรมให้เพิ่มขึ้นบน BIOS

อีกการทดสอบจาก Novabench ให้ตัวเลข Overall อยู่ที่ 3,634 คะแนน และ RAM score อยู่ที่ 336 โดยความเร็ว RAM Speed ได้ที่ 33381 MB/s


Game Performance

DOTA2: ในการทดสอบร่วมกับเกม DOTA2 ในการทดสอบเราใช้โหมด Best Looking อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับแรมทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่จะมีผลต่อ VRAM แต่ในแง่ของประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ ก็มีผลต่อการเล่นเกมเช่นกัน โดยแรม KLEVV ที่ติดตั้งไว้ถึง 32GB ก็ช่วยให้การเล่นเกมลื่นไหลได้ดี อีกทั้งยังมากพอสำหรับเหล่าแคสเตอร์หรือเกมเมอร์ที่ต้องการสตรีมวีดีโอ ที่มีแรมให้เหลือใช้อีกเกือบ 20GB เลยทีเดียว


Battlefield V

การทดสอบบนเกมสุดโหดอย่าง Battlefield V นั้น เราปรับ Detail ไปเป็น High เกมนี้เรียกใช้แรมไปราว 12GB เลยทีเดียว และใช้ทรัพยากรการ์ดจอไปไม่น้อยกว่า 80% แต่ก็ถือว่าตัวเกมยังคงลื่นไหลได้ดี ไม่มีอาการสะดุด ทำให้คนที่เล่นเกมในแนว Action FPS ที่ต้องการพลังระบบมากๆ การเลือกแรม DDR5 มากกว่า 16GB ขึ้นไป ดูจะตอบโจทย์ในการเล่นเกมได้ดีไม่น้อยเลย


Horizon Zero Dawn

สำหรับเกม Horizon Zero Dawn นี้ ก็ถือว่าเป็นอีกเกมหนึ่ง ซึ่งใช้ทรัพยากรในการเล่นอยู่ไม่น้อย แม้จะใช้ซีพียูไม่มาก แต่การ์ดจอก็รับบทหนัก และส่งผลต่อแรมระบบด้วยเช่นกัน และอย่างที่ได้เห็นไปในภาพตัวอย่างเกม ใช้แรมระบบไปมากถึง 13GB ด้วยกัน ซึ่งโดยปกติ หากผู้ใช้เน้นเล่นเกมเพียงอย่างเดียว 16GB แบบนี้ ก็สามารถรับมือได้ไหว แต่ถ้าต้องการใช้โปรแกรมอื่นเสริมเข้ามาด้วย เช่น การสตรีมหรือการแคปเจอร์วีดีโอ แนะนำว่า 32GB ก็ดูจะทำให้คล่องตัวได้มากกว่า


Conclusion

นี่ก็คือ ทั้งหมดของการทดสอบแรมใหม่จาก KLEVV U-DIMM DDR5 รุ่นนี้ครับ ต้องบอกว่า เป็นแรมอีกรุ่นหนึ่งที่ดูเป็นกันเอง และใช้ร่วมกับแพลตฟอร์ม Intel Gen 12 ได้อย่างลงตัว รวมถึงยังคงปรับแต่ง สำหรับแรม KLEVV U-DIMM DDR5 4800 รุ่นนี้ ในแง่ของประสิทธิภาพก็ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีพอสมควร ไม่มีอาการผิดปกติ จากการใช้งานต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเล่นเกม หรือทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่นเดียวกับการ OC ที่เราขยับไปได้ที่ DDR5 5600 ก็ยังลื่นไหล ไม่สะดุด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคอเกมเริ่มต้น คนทำงาน หรือต้องการประกอบคอมในราคาที่ไม่ซับซ้อน ควบคุมงบประมาณได้มากขึ้น อีกทั้งได้ข้อดีคือ มีช่องว่างให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะในเคสที่มีพื้นที่จำกัด รวมถึงการเพิ่มช่องทางไหลเวียนอากาศได้ดีอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม: KLEVV

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.