เอาตัวรอดติดเชื้อโควิดฯ หากต้องกักตัวเองอยู่บ้าน



โควิด-19 ระลอก 3 ในไทยช่วงปลายเดือน เม.. ยังถือว่าค่อนข้างเข้าขั้นวิกฤติ หลังจาก ยอดติดเชื้อรายใหม่ ทั่วประเทศ ก้าวกระโดด ทะยานขึ้นวันละกว่า 2 พันคน มาต่อเนื่อง 4 วันติด ๆ แล้ว (22-25 เม..) โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร วันที่ 25 เม..วันเดียว ยอดติดเชื้อรายใหม่ มากถึง  900 คน ทำให้มีตัวเลขติดเชื้อรายใหม่ตั้งแต่วันที่ 1-25 เม.. จำนวน 28,645 คน แต่ที่น่าตกใจ โควิดระลอก 3 นี้ ผู้เสียชีวิต แค่สัปดาห์เดียวยังพุ่งไปถึง 40  คน

เรียกว่าทั้งติดง่าย และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ถ้าผู้ติดเชื้อมีโรคประจำตัว  !!

เกือบทุกวันยังเห็นความเคลื่อนไหวในโลกโซเชียล ที่พยายามช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ที่ต้องกักตัวเองอยู่ในบ้านมาหลายวัน แต่ทางโรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับเพียงพอจึงต้องเฝ้ารออยู่บ้าน ทีมข่าว 1/4 Special Report เคยนำเสนอครอบครัวผู้ติดเชื้อย่านสายไหมที่กว่าจะมีรถพยาบาลมารับตัวได้ ต้องรออยู่บ้านนานหลายวัน สุดท้ายกลายเป็นติดเชื้อโควิดกันทั้งครอบครัว 6 คน ถัดมายังมีเคสของ ครอบครัวอาม่า ย่านบางคอแหลม  3 พี่น้องสูงวัยติดเชื้อโควิดจากญาติ ก็ต้องนั่งเฝ้ารอเจ้าหน้าที่มารับหลายวัน สุดท้ายเสียชีวิตอย่างสลดคาบ้านตัวเองไป 1 ราย รวมไปถึงเรื่องราวของ หนุ่มอีสปอร์ต ถ่ายคลิปไลฟ์สดไว้ในเฟซบุ๊ก ระหว่างกักตัวเองอยู่บ้านนาน 5 วัน แต่เมื่อมีเจ้าหน้าที่มารับตัวไปอยู่โรงพยาบาลได้แค่ 2 วันก็เสียชีวิตไปแบบน่าสลด

This image is not belong to us

แนวทางปฏิบัติถ้ากักตัวอยู่บ้าน

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา มีเอกสารของ กรมการแพทย์ เผยแพร่ไปทางสื่อสังคมโซเชียล เกี่ยวกับ แนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน (home isolation) (ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2564) แม้ทาง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  ออกมาชี้แจงว่า  เป็นแค่เพียงการออกคำแนะนำเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ หากกรณีมีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น  พร้อมยืนยันว่ายังไม่ถึงขั้นจะต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้ที่ติดเชื้อทุกรายจะต้องเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามหรือฮอสพิเทล ที่ทางภาครัฐกำหนด

สำหรับแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน มีรายละเอียดเกี่ยวกับ กรณี ผู้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ควรได้รับการจัดแยกเพื่อการดูแลรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรือ โรงพยาบาลสนาม หรือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ตามความเหมาะสมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการควรแยกตัวจากผู้อื่นไม่น้อยกว่า 14 วันเช่นเดียวกัน

โรงพยาบาลอาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัว อาทิ บ้านเดี่ยว หอพัก หรือคอนโดมิเนียมโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่แล้ว การจัดเตรียมสถานที่เพื่อการแยกตัวอย่างเหมาะสมให้เป็นไปตามคำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หากผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แนะนำให้แยกตัวต่อเนื่องจนครบ 1 เดือน                                                                                                          


เกณฑ์การพิจารณาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพื่อการแยกตัว 1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases) 2. มีอายุไม่เกิน 40 ปี 3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 4. มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน 5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย 2 25 กก./ม./ หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.) 6. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลพินิจของแพทย์ 7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

การดำเนินการของโรงพยาบาล 1. ประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อแยกตัวในสถานที่พักของตนเอง 2. ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การแยกตัวที่บ้าน (home isolation) ในระบบของโรงพยาบาล 3. ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray)หากพบความผิดปกติ แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 4. แนะนำการปฏิบัติตัว และจัดเตรียมปรอทวัดไข้ และ pulse oximeter ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ 5. ติดตาม ประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างการแยกตัวที่บ้าน ผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการสอบถามอาการไข้ ค่า oxygen saturation วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นระยะเวลา 14 วัน 6. จัดช่องทางติดต่อในกรณีผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้น หรือภาวะฉุกเฉิน อาทิ มีไข้ลอย หอบเหนื่อย หายใจลำบาก 7. จัดระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล และ 8. ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาล

This image is not belong to us

คู่มือดูแลตัวเองสู้โควิดฯ

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 63 ทาง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เคยออกหนังสือ สู้โควิด-19ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน  มาแล้วเช่นเดียวกัน เกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติเมื่อต้องกักตัว 14 วัน ไล่ตั้งแต่เตรียมที่พักและอุปกรณ์อย่างไรให้พร้อม, ข้อปฏิบัติกรณีอยู่บ้านคนเดียว ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ที่ต้องกักตัว กรณีอยู่ร่วมกับครอบครัว/พักร่วมกับผู้อื่นข้อปฏิบัติของคนในครอบครัว ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ที่ต้องกักตัวกรณีอยู่ในอาคารชุด (หอพัก คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์) ฯลฯ

เมื่อต้องกักตัวเอง 14 วัน คือเตรียมที่พักและอุปกรณ์ให้พร้อม 1.แยกห้องนอนและห้องนํ้าออกจากผู้อื่น (ห้องพัก โปร่ง มีอากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง) 2.แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้า) แยกทําความสะอาด 3.มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์เจลเข้มข้นอย่างน้อย 70% หน้ากากอนามัย สบู่  4.มีอุปกรณ์ทําความสะอาด เช่น ถุงขยะ โดยจัดถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดไว้นอกบ้าน นํ้ายาทําความสะอาด ฯลฯ

หลังจากจัดเตรียมห้องพักและอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ข้อปฏิบัติ วัดอุณหภูมิทุกวัน ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส, แยกห้องนอน แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้าโทรศัพท์) รวมทั้งแยกทําความสะอาด, แยกรับประทานอาหาร ตักแบ่งอาหารมารับประทานต่างหาก ล้างภาชนะด้วยนํ้ายาล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด  ล้างมือด้วยนํ้าและฟอกสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์, ปิดปากจมูกด้วยทิชชูทุกครั้งที่ไอ จาม ทิ้งทิซชูในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท และทําความสะอาดมือทันที แยกขยะที่ถูกสารคัดหลั่งเช่นหน้ากากอนามัย กระดาษทิซชูโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่นก่อนนําไปทิ้ง

ห้องนํ้าหากแยกไม่ได้ ก็ควรใช้ห้องเป็นคนสุดท้ายและทําความสะอาดทันที ปิดฝาทุกครั้งก่อนกดชักโครกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค,หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร หากจําเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร และใช้เวลาให้สั้นที่สุด  ถ้ามีอาการไข้ อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดเนื้อปวดตัว หนาวสั่น มีอาการระบบทางเดินหายใจ ไอ จาม เจ็บคอ มีนํ้ามูก หายใจลําบาก ให้รีบโทรแจ้ง 1669 เพื่อมารับตัว

This image is not belong to us

เปิดประสบการณ์กักตัว 14 วัน

ภาครัฐต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัดต่างตื่นตัวเป็นอย่างมาก นอกจากเฝ้าระวังไม่ให้ติดเชื้อแล้ว บางคนก็ยังนั่งขบคิดว่า หากตัวเองต้องติดเชื้อ แต่โรงพยาบาลยังไม่มีเตียงรักษา ในเมื่อไม่มีอาการรุนแรง ถ้าจำเป็นต้องกักตัวเองในบ้านพักจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ทีมข่าว 1/4 Special Report  ได้เคยสัมภาษณ์พิเศษ นางวัชราภรณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ลูอิส ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ซึ่งถ่ายทอดประสบการณ์การติดไวรัสโควิด-19 แต่ไม่ได้ไปโรงพยาบาลเพราะอาการไม่รุนแรงต้องกักตัวรักษาตัวเองอยู่บ้านพัก จึงขอนำข้อมูลมาเผยแพร่อีกครั้งเพราะได้บันทึกเกี่ยวกับอาการป่วยไล่ลำดับไว้น่าสนใจดังนี้ อาการหลังติดเชื้อโควิด ระหว่าง วันที่  14 เจ็บคอแบบระคายเคืองไม่รุนแรง ตื่นเช้ามา วันที่ 5  เริ่มมีอาการไอ และมีน้ำมูก, วันที่ 6 ตื่นมาช่วงราวตีสามเนื่องจากเจ็บคอมาก จนมีอาการปวดหัว และปวดรอบเบ้าตามาก, วันที่ 78  ยังคงมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก มีไข้ต่อเนื่องกินยาบรรเทาไข้ โดยความรู้สึกไม่มีความหิว แต่จะต้องจิบน้ำให้มาก ๆ, วันที่ 9 มีอาการท้องเสีย, วันที่ 10-1112 ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รสชาติ, วันที่ 13 เริ่มได้กลิ่น ได้รสชาติกลับมา กระทั่ง วันที่ 14 จึงเริ่มเข้าสู่ภาวะอาการดีขึ้น แต่ยังไอ มีน้ำมูก ปวดหัว เจ็บคออยู่

ช่วงที่อันตรายและร้ายแรงที่สุด คือตั้งแต่วันที่ 6 ถึงวันที่ 12 ต้องต่อสู้กับอาการไอ มีไข้ ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตัว และระบบหายใจ หอบเหนื่อยง่ายมาก ๆ ต้องทานยาต่อเนื่อง ร่างกายอ่อนแอมากที่สุดขนาดเดินแค่ไปกลับเข้าห้องน้ำก็เหนื่อยมากจนหายใจแทบไม่ทัน หลังจากหายป่วยแล้วกว่าร่างกายจะเข้าสู่ภาวะปกติเหมือนเดิมจะอยู่ที่ 4-8 สัปดาห์

นางวัชราภรณ์ กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ว่า โชคดีที่แฟนเป็นแพทย์ทำให้เราสามารถดูแลกันที่บ้านได้ ในสหรัฐคนที่มีอาการทางเดินหายใจมาก ๆ จะต้องไปอยู่ที่โรงพยาบาล ส่วนคนที่มีอาการไม่มากจะให้พักฟื้นที่บ้าน เพราะเตียงในโรงพยาบาลเต็มหมด สิ่งที่อยากแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโควิด คือ ควรจะนอนราบให้น้อยที่สุด นั่งให้มาก เพื่อให้ปอดไม่มีปัญหา พยายามลุกเดินบ้างเพื่อให้ปอดได้ทำงาน เพราะผู้เสียชีวิตหลายคนนอนราบทั้งวัน ทำให้ปอดไม่ได้ทำงาน ส่วนช่วงที่หายใจไม่สะดวกควรจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ ขณะที่ช่วงเวลาที่ไม่อยากทานอาหาร ควรจะฝืนกิน แม้จะต้องอ้วกออกมาก็ตาม การฟื้นตัวจากโควิดก็เป็นไปตามลำดับ ดังนั้นบทเรียนที่เจอในสหรัฐอเมริกาจึงอยากจะฝากถึงคนไทยให้ช่วยกันป้องกันตัวเองและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด.