จากเกมสู่กีฬาและอาชีพ “อีสปอร์ต” ทางรอดใหม่ สร้างรายได้ให้สายเกม – บทความกีฬาอื่นๆ

กีฬาอีสปอร์ต (E-sports) เติบโตเป็นอย่างมาก จากกีฬาสาธิตใน เอเชียนเกมส์ ปี 2561 และ ซีเกมส์ ประเทศฟิลิปปินส์ กระทั่งได้รับยอมรับให้เป็นกีฬาที่ใช้แข่งจริงใน ซีเกมส์ 2021 ประเทศเวียดนาม และมีการชิงชัยถึง 10 เหรียญทอง

 ทีมอีสปอร์ตไทยถือว่าประสบความสำเร็จ เมื่อสามารถคว้ามาได้ 2 เหรียญทอง จาก Arena of Valor (RoV) และ FIFA Online 4 เป็นรองแค่เจ้าภาพ เวียดนาม ที่ทำไป 4 เหรียญทอง

 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอีสปอร์ต (Esports) เติบโตเป็นอย่างมาก ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ โดยในประเทศไทยได้กำหนดให้กีฬาอีสปอร์ตเป็นกีฬาอาชีพในปี พ.ศ.2564 เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอาชีพดังกล่าว 

 มูลนิธิเอสซีจี เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งเน้นส่งเสริมศักยภาพของเยาวชน ตามแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด จึงร่วมสนับสนุนการพัฒนาทักษะ และผลักดันอาชีพอีสปอร์ต เพื่อให้เยาวชน Gen Z ได้มีทางเลือกที่หลากหลาย หางานทำได้อย่างมั่นคง จากอาชีพอีสปอร์ต  ตลอดจนก้าวไปถึงการเป็นตัวแทนประเทศเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีโลกต่อไป

 “มูลนิธิเอสซีจีเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้าง คน” ด้วยการวางแนวทางการพัฒนาทักษะของเยาวชนให้ตอบโจทย์ และตรงกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ผ่านแนวคิด Learn to Earn ที่มุ่งเน้นให้ทุนการศึกษาที่จะช่วยหนุนและเสริมสร้างพัฒนาทักษะให้กับคนรุ่นใหม่ ด้วยทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จะสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพต่างๆ โดยในปีนี้มูลนิธิเอสซีจีได้ร่วมมือกับทีม King Of Gamers Club (KOG)  จัดการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต (Tournament School Project) ในสถานศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา และสนับสนุนการเข้าร่วมการแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ 2022 ขึ้นเป็นปีแรก เพื่อสร้างการรับรู้ ส่งเสริมอาชีพกีฬาอีสปอร์ต และสร้างโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถ พร้อมร่วมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมอีสปอร์ตไทยสู่สากล” 

 สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าว

 นักกีฬาอีสปอร์ต”  ที่แม้ว่าอาจจะยังมีบางคนที่ยึดติดกับความคิดหรือความเชื่อเดิมๆ ว่า เป็นเรื่องของเด็กติดเกม แต่เด็กติดเกมหลายคนในปัจจุบัน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ถึงพวกเขาจะติดเกมแต่พวกเขาก็มีอนาคตที่ดีได้จากเกม นักกีฬาอีสปอร์ตหลายคนที่สวมหมวกสองใบ ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ตราบใดที่พวกเขามีวินัยรู้จักจัดการและแบ่งเวลาเรียนและเวลาซ้อมให้สมดุลกัน พวกเขาก็สามารถที่จะเรียนและเล่นไปพร้อมๆ กันได้

 ที่สำคัญ อาชีพนักกีฬาอีสปอร์ต รวมถึงอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ โค้ช ผู้จัดการทีม นักพากษ์ นักแคสเตอร์เกม ตากล้อง นักพัฒนาและออกแบบเกม คนสร้างคอนเทนต์ด้านเกม คนทำออร์กาไนเซอร์ คนทำเทคโนโลยีด้านเกม ฯลฯ ต่างก็เป็นอาชีพที่มีความมั่นคงไม่ต่างไปจากอาชีพอื่น สามารถมีรายได้มากเพียงพอที่จะเลี้ยงดูทั้งตัวเองและสมาชิกในครอบครัวได้ ด้วยรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนเป็นตัวเลขถึงห้าหลักเลยทีเดียว

 อายุไม่สำคัญขอแค่มีฝีมือ

 นักกีฬาอีสปอร์ต เป็นอาชีพที่ไม่จำกัดทั้งเพศและอายุ ทุกอย่างวัดกันที่ฝีมือล้วนๆ พัตเตอร์ – จักรภัทร โชตะวัน หนุ่มน้อยวัย 14 สมาชิกที่อายุน้อยสุดของทีม KOG ผู้เล่นในตำแหน่ง Dark Slayer Lane ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการบริหารจัดการเวลาได้ดีทั้งเรื่องเรียนและเรื่องเกม

 ปัจจุบัน นอกจากการเป็นนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมตามตารางเวลาที่โค้ชกำหนดอย่างเคร่งครัดแล้ว “พัตเตอร์” ยังต้องเรียนหนังสือควบคู่กันไป แม้ว่าบางวันที่เขาอาจจะใช้เวลาซ้อมนานกว่าปกติ ทำให้ต้องลดเวลานอนพักผ่อนลงไปบ้างก็ตาม แต่ผลการเรียนของพัตเตอร์ก็ยังไม่ตก และฝีมือการเล่นของพัตเตอร์ก็พัฒนาขึ้นจนทำให้ก้าวจากรุ่นจูเนียร์มาสู่รุ่นใหญ่ได้ในเวลาไม่นาน 

 “พัตเตอร์” เข้าสู่วงการเกมจากการรวมทีมกับเพื่อนๆ คอเดียวกัน ลงแข่งเพื่อฝึกฝนตัวเองมาเรื่อยๆ ตามทัวร์นาเม้นท์เล็กๆ และมาเริ่มเล่นอย่างจริงจังตอนอายุประมาณ 13 ปี เมื่อมาสังกัดทีม KOG ในช่วงแรก ยังอยู่ในรุ่นจูเนียร์ แต่ด้วยฝีมือการเล่นที่เข้าตาโค้ชที่ไปสังเกตการณ์การแข่งขันในวันนั้น ทำให้โค้ชตัดสินใจพาตัว พัตเตอร์” ข้ามรุ่นจากจูเนียร์มาสู่ชุดใหญ่ ในที่สุด

 ด้วยฝีมือการเล่นที่ไม่ธรรมดาของ “พัตเตอร์” ก็สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถด้านเกม ทำให้ได้รับการยอมรับจากทุกคนในทีม รวมถึงผู้ปกครองของ พัตเตอร์” เองก็เปิดใจยอมรับมากขึ้น

 “ตอนที่บอกพ่อกับแม่ว่า นี่คือเงินที่หามาได้จากการเล่นเกม พ่อกับแม่ก็ภูมิใจและเริ่มให้การยอมรับในสิ่งที่ผมทำ ความตั้งใจของผม คืออยากเรียนไปด้วย แข่งไปด้วย อยากได้แชมป์โปรลีกในไทย และมีโอกาสได้ไปแข่งที่ต่างประเทศ

 เรียนเล่น ไปด้วยกันได้ แค่รู้จักแบ่งเวลาให้ดี

 มิดเลนวัย 18 ของทีม King of Gamers Club (KOGปุ๊ปู่ – ธนดล นันทาภรณ์ศักดิ์ เป็นนักกีฬาอีกคนหนึ่งที่ยืนยันได้ว่า สามารถใช้ชีวิตการเรียนควบคู่ไปกับการเล่นได้ หากสามารถจัดสรรเวลาเรียนและเล่นให้ชัดเจน และการเป็นนักกีฬาสังกัดในทีม KOG ก็ช่วยได้มาก เพราะตารางการฝึกซ้อมที่โค้ชกำหนดไว้ให้นั้นเหมาะสมที่ ปุ๊ปู่” จะใช้สำหรับการเรียนและเล่นเกมไปได้ในเวลาเดียวกัน

 “ปุ๊ปู่” เล่าว่า ชีวิตการเล่นเกมของเขาเริ่มขึ้นในช่วงวัย 15 ปี จากการรวมทีมแข่งกับเพื่อนตามทัวร์นาเมนต์เล็กๆ ตามร้านเกม พอแข่งไปเรื่อยๆ ก็มีรุ่นพี่ในวงการมาชักชวนให้ไปร่วมทีมที่ใหญ่ขึ้น จนได้มาแข่งทัวร์นาเมนต์ของ KOG ที่จัดขึ้นเพื่อคัดทีมเข้าไปแข่งรอบโปรลีก และทีมของตนชนะ จึงได้เข้ามาสังกัดอยู่กับ KOG ทั้งทีม

 “ปุ๊ปู่” บอกว่าตารางฝึกซ้อมที่โค้ชจัดให้ ไม่ตรงกับเวลาเรียนอยู่แล้ว และยังมีช่วงเวลาพักหรือวันหยุดที่สามารถใช้ทำการบ้านหรืออ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ ล่าสุด ปุ๊ปู่” ได้รับตอบรับการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในสาขากีฬาอีสปอร์ตเรียบร้อยแล้ว 

 “ตอนที่ตัดสินใจเข้ามาเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตเต็มตัว ก็บอกกับคุณแม่ตรงๆ ว่าตอนนี้เป็นนักกีฬาอาชีพแล้ว คุณแม่ปล่อยอิสระให้ตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่ก็มีบอกว่า อยากให้เรียนจนจบด้วย และก็พร้อมสนับสนุนในสิ่งที่ตัดสินใจ ตัวผมก็คิดว่าจะไม่ทิ้งการเรียน แต่จะยังเรียนต่อไปพร้อมกับเล่นเกม เพราะที่ผ่านมาเราก็ทำได้ เพียงแต่ตัวเราต้องมีวินัยแบ่งเวลาเรียนกับเวลาฝึกซ้อมให้ดี ก็จะสามารถเรียนไปด้วยเล่นเกมไปด้วยได้ แล้วยิ่งตอนนี้ อีสปอร์ตได้รับการยอมรับมากขึ้น มีหลักสูตรการเรียนในระดับปริญญาตรีสาขานี้มารองรับ ทำให้มั่นใจว่า อาชีพด้านอีสปอร์ตจะสามารถสร้างความมั่นคงให้ได้หากจะต้องยึดเป็นอาชีพจริงจังต่อไปในอนาคต

 ติดเกมแต่ก็มีอนาคตดีๆ ได้

 ซัน – ณัฐดนัย รุ่งเรือง ผู้เล่นตำแหน่งโรมมิ่งในทีม KOG นักกีฬาอีสปอร์ต วัย 28 ปี  เล่าว่า ตนเองชื่นชอบเรื่องของการแข่งขันมาตั้งแต่เด็ก เข้าสู่วงการเกมตอนเรียนมัธยมต้น เล่นเกมอยู่ราวๆ ปี จึงตัดสินใจเริ่มลงสนามแข่ง จนมาประสบความสำเร็จ ชนะได้เงินรางวัลหลักหมื่นตอนอายุเกือบ 17 หลังจากนั้นก็ฝึกฝนต่ออีกเกือบ ปี จึงได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งในเวทีใหญ่ๆ ในต่างประเทศ รวมถึงเป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตเป็นชุดแรก ถือเป็นการเปิดโลกกว้างและเป็นประสบการณ์ที่ดีให้กับคนที่มีใจรักการแข่งขันในเกมอย่าง ซัน” ได้เป็นอย่างดี

 ทุกครั้งที่ “ซัน” แข่งชนะและได้เงินรางวัลมา เขาจะนำเงินรางวัลที่ได้มามอบให้คุณแม่เสมอ  แต่เพราะคำว่า เด็กติดเกมที่ได้ยินได้ฟังจากคนรอบๆ ตัว ทำให้ความรู้สึกลึกๆ ในใจของ ซัน” ต่อต้านและไม่ยอมรับว่าตัวเขานั้นชอบเล่นเกม แต่แม้ว่า ซัน” จะไม่ได้ออกมาประกาศให้โลกรู้อย่างชัดเจนว่าตัวเอง เล่นเกม” แต่ ซัน” ก็สามารถพิสูจน์ให้ใครๆ ได้เห็นแล้วว่า การติดเกมของเขานั้น ไม่ได้ทำให้อนาคตของเขาแย่อย่างที่หลายคนวิตก

 “ผมเคยพยายามบอกตัวเองว่า ที่เล่นเกมเพราะมันได้เงิน เพราะใจผมไม่อยากยอมรับว่าตัวผมนั้นชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ เคยถึงขนาดออกจากวงการเกมไปทำอย่างอื่นพักใหญ่ๆ แต่สุดท้ายแล้ว ก็ค้นหาตัวเองจนได้รู้ว่าสิ่งที่ชอบก็คือเกมนี่แหละ ก็เลยคิดได้ว่า ในเมื่อเรามี skill ทางด้านนี้อยู่ แล้วเราจะปฏิเสธมันทำไม และแม้ว่าอายุผมจะมากกว่าใครในทีม แต่ผมก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การเล่นเกมให้ได้ดีนั้น อยู่ที่แรงบันดาลใจที่หล่อเลี้ยงมาจากความรัก ความชอบและทักษะที่สั่งสมมา และบวกกับความชื่นชอบการแข่งขันที่ผมมีอยู่เป็นทุนเดิม

โค้ชมีส่วนช่วยปั้นนักกีฬาให้ดี 

 ฮิวโก้  พงษ์ปณต เรืองอารีรัตน์ Head Coach หนุ่มอนาคตไกลวัย 26 ปี ของทีม KOG ผู้ผันตัวเองจากนักกีฬาอีสปอร์ตมาเป็น Head Coach ฮิวโก้” เป็นตัวอย่างที่ดีของนักกีฬาอีสปอร์ตที่ไม่เคยทิ้งการเรียน เพราะเขาคือบัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 “ฮิวโก้” รักการเล่นเกมมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่เริ่มเข้าสู่วงการแข่งขันจริงๆ จังๆ ตอนช่วงประถมปลาย พอเริ่มขึ้นชั้นมัธยมต้น ฮิวโก้” ก็เริ่มตั้งความฝันอยากจะประสบความสำเร็จเหมือนพี่ๆ เกมเมอร์ที่เป็นแชมป์ แล้วฝันของเขาก็เป็นจริงขณะที่เป็นนิสิตชั้นปี เมื่อเขาคว้าแชมป์จากรายการ King of Gamers – Season 1 และได้เซ็นสัญญาเข้าเป็นนักกีฬาอาชีพ (Turn Pro Playerในสังกัด King of Gamers (KOG)

 เมื่อผมได้เข้ามาสู่วงการเต็มตัว ผมทำทุกอย่างภายใต้กรอบของเวลาที่ชัดเจน ทั้งการเรียนและการฝึกซ้อม ตอนเป็นนักกีฬาก็ดูแลแต่เวลาของตัวเอง แต่พอมาเป็นโค้ช ก็ต้องดูตารางเวลาของนักกีฬาที่เราดูแลทุกคน นอกจากตารางเวลาการเรียนและการฝึกซ้อมของนักกีฬาแล้ว ผมได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยเป็นนักกีฬามาก่อน มาใช้ดูแลน้องๆ ในทีม ทั้งเรื่องการเรียน การเล่น การใช้ชีวิตของพวกเขา

 “ผมอยากให้ทุกคนมองว่าไม่ใช่เรื่องผิดที่เด็กอยากเป็นเกมเมอร์ และก็ไม่อยากให้น้องๆ ต้องทิ้งการเรียนเพื่อเกม เพราะเกมไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่มันสามารถบาลานซ์เข้าด้วยกันได้ อย่างตัวผมเองก็จะมีจุดตรงกลางมาตลอดทั้งเรื่องเรียนและการฝึกซ้อม ผมจะทำข้อตกลงกับที่บ้านว่าจะไม่ให้ผลการเรียนตกลงไปกว่านี้ ผมสัญญากับพ่อแม่ว่า ผมจะไม่ดร็อปเรียน จะไม่เรียนให้ติดเอฟ ถ้าทำได้ ขอซ้อมเกมตามเวลาที่ต้องการ ถ้าเราทำได้ตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ปกครองก็จะเปิดใจและเปลี่ยนความคิด เลิกมองว่าการเล่นเกมไม่ดี และการเข้าไปในเกม ต้องเข้าไปแบบนักกีฬา ไม่ใช่เข้าไปแบบเด็กติดเกม เพราะการเป็นนักกีฬา ทุกคนจะมีเป้าหมาย มีความฝัน ว่าเข้ามาเล่นเพื่อพัฒนาตนเองให้มีทักษะที่ดีขึ้น เพื่อจะได้ก้าวไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้” 

สร้างคน สร้างทักษะ พัฒนาวงการอีสปอร์ต

 มูลนิธิเอสซีจีร่วมกับ KOG เดินหน้าผลักดันสานฝันชาวเกมเมอร์ เพราะมองเห็นโอกาสที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจในกีฬาอีสปอร์ตให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ด้วยการแนะแนวอาชีพในอุตสาหกรรมอีสปอร์ตตามโรงเรียนมัธยมหลายแห่ง ภายใต้โครงการ King of Gamers School Project  ประเดิมนำร่องที่โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี  และโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

 โดยได้ Head Coach ฮิวโก้ เป็นหัวเรือหลักในการแนะแนวให้ความรู้กับน้องๆ เยาวชนที่ไม่ใช่การจัดบรรยายทั่วไป แต่เป็นการให้ความรู้ในรูปแบบของการ Learning by Doing ด้วยการรับสมัครนักเรียนในโรงเรียนนั้นๆ มาร่วมกันทำโปรเจ็คทัวร์นาเม้นต์ในโรงเรียน เพื่อให้ทุกคนได้มีประสบการณ์จริง ได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงว่าแต่ละหน้าที่ของกีฬาอีสปอร์ต ต้องทำอะไร อย่างไร ซึ่งจะช่วยจุดประกายความฝัน และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่สนใจเข้ามาสู่อาชีพในวงการกีฬาอีสปอร์ต อันเป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนากีฬาอีสปอร์ตของไทยตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการกีฬาแห่งประเทศไทย

 ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กติดเกม

 แม้ “อีสปอร์ต” จะยังค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ของประเทศ แต่การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เยาวชนที่สนใจเข้ามาสู่วงการอีสปอร์ต รวมถึงการสร้างทัศนคติใหม่ต่อ “อีสปอร์ต” ตลอดจนความสำเร็จของนักกีฬาอาชีพที่สามารถประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กันทั้งเรื่องเรียนและเรื่องเกม จะเป็นสิ่งพิสูจน์ให้สังคมได้เห็นว่า “อีสปอร์ต” ไม่ใช่เรื่องของ “เด็กติดเกม” แต่เป็นเรื่องของ Sport Entertainment