eSport Sponsored

‘ชัชชาติ’ สัญจร สวท. จะดัน ‘ย่านอัตลักษณ์’ ทั่วกรุง! อัดแน่นเทศกาล 12 เดือน สร้างซอฟต์เพาเวอร์

eSport Sponsored
eSport Sponsored

‘ชัชชาติ’ สัญจร สวท. เตรียมเพิ่ม ‘ย่านอัตลักษณ์’ ทั่วกรุง อัดแน่นเทศกาล 12 เดือน สร้างซอฟต์เพาเวอร์ เชื่อเอกชนมีบทบาท ดัน อุตสาหกรรมไมซ์

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 24 มกราคม ที่ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมผู้ว่าฯ สัญจรและติดตามการดำเนินงาน สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (สวท.)

นายชัชชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า สวท.เป็นสำนักที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ชุมชน การสร้างเศรษฐกิจชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในแง่การกีฬาต่างๆ และการท่องเที่ยว ซึ่งสำนักนี้จะเน้นซอฟต์เพาเวอร์ ในการสร้างอัตลักษณ์ วัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว

นายชัชชาติกล่าวว่า สวท.มีศูนย์บริการในสังกัด ประกอบด้วย ศูนย์เยาวชนไทยญี่ปุ่น 1 แห่ง ศูนย์เยาวชน (ศูนย์สร้างสุขทุกวัย) 34 แห่ง ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 34 แห่ง พิพิธภัณฑ์เด็ก กทม. 2 แห่ง รถห้องสมุดเคลื่อนที่ 3 คัน ศูนย์กีฬา 12 แห่ง ศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน โรงเรียนกีฬา กทม. 3 แห่ง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ 1 แห่ง ซุ้มบริการท่องเที่ยว 22 แห่ง และจุดบริการนักท่องเที่ยว 1 แห่ง ซึ่งเมื่อปี 2565 มีผู้ใช้บริการศูนย์บริการดังกล่าว 5,011,949 ครั้งต่อคน แต่ก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดโรคโควิด เมื่อปี 2563 มีผู้ใช้บริการศูนย์บริการดังกล่าว 10,164,784 ครั้งต่อคน ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาปรับศูนย์บริการทั้งหมดนี้ให้เข้มข้นขึ้น

นายชัชชาติกล่าวต่อว่า มีนโยบายหลายอย่างของสำนักนี้ ที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในช่วงแรก คือการสร้างอัตลักษณ์แต่ละย่าน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการทำให้ย่านเกิดเศรษฐกิจชุมชนได้ ต้องสร้างอัตลักษณ์ย่านก่อนว่ามีของดีอะไร เบื้องต้นได้นำร่องในเฟสแรกไปแล้ว 10 ย่าน ได้แก่ 1.บางลำพู เขตพระนคร 2.นางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 3.ตลาดเก่าหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง 4.ตลาดพลู เขตธนบุรี 5.ตลาดน้ำตลิ่งชันตลาดน้ำวัดสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน 6.วัดดุสิตาราม เขตบางกอกน้อย 7.วัดเดิม เขตบางกอกใหญ่ 8.ริมคลองบางมด เขตทุ่งครุ 9.ริมคลองบางหลวงเขตภาษีเจริญ และ 10.ตลาดน้อย เขตสัมพันธ์วงศ์

ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการในเฟสที่ 2 อีก 10 ย่าน ได้แก่ 1.ตลาดเก่ามีนบุรี เขตมีนบุรี 2.วัดพระยาไกร (เจริญกรุง103) เขตบางคอแหลม 3.คลองสาน เขตคลองสาน 4.ริมคลองพระโขนง เขตสวนหลวง 5.ริมคลองประเวศบุรีรมย์ เขตประเวศ 6.คลองลำไทร เขตหนองจอก 7.สาทร 8.สามง่ามพัฒนา เขตจอมทอง 9.เจริญกรุง เขตบางรักและ 10.ถนนสายไม้ เขตบางซื่อ ซึ่ง กทม.จะพยายามพัฒนาย่านดังกล่าว เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ ให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และให้เกิดความภาคภูมิใจในพื้นที่ของตัวเอง

นายชัชชาติกล่าวว่า นอกจากนี้ มีเทศกาลต่างๆ ซึ่งในปี 2566 มี 12 เทศกาลตลอดปี โดยในเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาลออกแบบ 9 ย่าน 12 เขต เดือนมีนาคม เทศกาลอ่านและการเรียนรู้ เดือนเมษายน เทศกาลไทยไทย เดือนพฤษภาคม เทศกาลอาหาร เดือนมิถุนายน เทศกาลไพร์ด ความหลากหลายทางเพศ เดือนกรกฎาคม เทศกาลเด็กและเยาวชน เดือนสิงหาคม เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดือนกันยายน เทศกาลอีสปอร์ต เดือนตุลาคม เทศกาลกรุงเทพกลางแปลง เดือนพฤศจิกายน เทศกาลศิลปะสร้างสรรค์ เดือนธันวาคม เทศกาลแสงสี

ขณะเดียวกันจะมีการพัฒนาและเพิ่มจำนวน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพอุปกรณ์ต่างๆ ภายในลานกีฬาเอ็กซ์สตรีม ศูนย์กีฬาและศูนย์สร้างสุขทุกวัยมีนบุรี ขณะเดียวกันมีศูนย์นวัตกรรมผู้สูงอายุ

นายชัชชาติกล่าวว่า ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวนั้น มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักเทศกิจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตำรวจท่องเที่ยว สวท. จะประสานงานหน่วยงานดังกล่าวๆ ซึ่ง สวท.มีจุดบริการท่องเที่ยว 22 จุด จึงให้ปรับจุดดังกล่าวให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน พัฒนาให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยว และจัดเจ้าหน้าที่ประจำจุด มีทั้งงานอีเวนต์ ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ งานโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะต้องทำโครงสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งที่ต้องทำควบคู่ขนานกันไป เชื่อว่าจะสร้างซอฟต์เพาเวอร์ให้เข้มแข็งขึ้น เกิดการสร้างเศรษฐกิจเมืองให้อยู่อย่างยั่งยืน

ส่วน การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ นายชัชชาติกล่าวว่า เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประชุมศูนย์ประชุมต่างๆ ซึ่งตนคิดว่าหัวใจของอุตสาหกรรมไมซ์เอกชนจะมีบทบาท เพราะเอกชนจะเป็นเจ้าของศูนย์ประชุมและโรงแรมต่างๆ กทม.ต้องร่วมมือกับเอกชนต่างๆ อย่างเข้มแข็ง หน้าที่ กทม.คือการพัฒนาบริบทโดยรอบให้รู้สึกปลอดภัย มีการเดินทางที่สะดวก การเดินเท้าที่ดี มีพื้นที่สีเขียว มีสวนสาธารณะ ดูแลสภาพแวดล้อม ขณะที่เอกชน จะทำหน้าที่จัดสถานที่ประชุมหรือโรงแรม เป็นเรื่องที่ต้องหารือร่วมกับเอกชน ซึ่งหน้าที่ของ กทม.จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ให้คนมาเที่ยวหรือประชุมในกรุงเทพฯ มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 กทม.จะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม ICCA ซึ่งเป็นการประชุมของผู้จัดประชุมทั่วโลก ทำให้มีผู้จัดประชุมจากทั่วโลก รู้จักกรุงเทพฯมากขึ้น

อ่านข่าว : ‘ชัชชาติ’ ฝากร่วมมือ ‘เวิร์กฟรอมโฮม’ วันฝุ่นพุ่ง ถกด่วน ‘กรมควบคุมมลพิษ’ ตั้งเป้าปีนี้ลด PM.25 30%

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.