eSport Sponsored

ถอดบทเรียนนักกีฬาอีสปอร์ต ไขความลับวิทยาศาสตร์พบสุขภาพดีกว่าคนทั่วไป

eSport Sponsored
eSport Sponsored

ใครที่ชื่นชอบเล่นเกม เชื่อว่าคงได้ยินประโยคที่ว่า “เล่นเกมมาก ๆ ระวังสุขภาพเสีย” จากคนในครอบครัวหรือคนรักบ้างไม่มากก็น้อย  ซึ่งก็อาจเป็นเพราะภาพจำจากภาพยนตร์ ข่าว หรือละครบางประเภท ที่ถ่ายภาพของคนเล่นเกมออกมาให้เห็นว่า มักเสพอาหารขยะ นั่งอยู่หน้าจอตลอดทั้งวัน ไม่หลับไม่นอน หรือไม่ทำอะไรที่ดีต่อสุขภาพเลย แต่อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาวิจัยจาก German Sport University Cologne ออกมา อาจทำให้ความเชื่อนี้เปลี่ยนไป

เตรียมเปิดฉาก APL 2022 รายการใหญ่สุด RoV พร้อมเช็กตารางการแข่ง

Buriram คว้าชัยสำคัญไปลุยศึกใหญ่เวียดนาม Bacon ทะลุชิงต่อเนื่อง

โดยหนึ่งในทีมวิจัย ระบุว่า ถึงแม้นักกีฬาอีสปอร์ตจะมี Energy Drink เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจริง แต่ในมุมอื่นพวกเขาอาจมีอาหารการกินที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ นั่นหมายความรวมถึงว่ากลุ่มคนที่ชื่นชอบเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียสุขภาพเสมอไป

การศึกษาดังกล่าวทำการสำรวจนักกีฬาอีสปอร์ตกว่า 820 คนในเรื่องของการกิน การดื่ม และการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ จากนั้นก็นำเอาผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของคนทั่วไป พบว่า นักกีฬากลุ่มนี้บริโภคน้ำตาลน้อย แถม Energy Drink ก็ดื่มไม่เยอะมากอย่างที่เราเข้าใจ ส่วนมากต้องดื่มเพราะเป็นสปอร์เซอร์

อย่างไรก็ตามแม้ว่าในเรื่องของการกิน จะมีผู้ชายเพียง 15% และผู้หญิง 25% ที่กินผักครบตามหลักโภชนาการที่ควรได้รับในแต่ละวัน แต่สำหรับเนื้อสัตว์นั้นทุกคนกินกันเกือบทุกวัน ทำให้ไม่ขาดสารอาหารอย่างโปรตีนแน่นอน

ส่วนการออกกำลังกายนั้น คนกลุ่มนี้ออกกำลังกายเยอะกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ มีการใช้ร่างกายมากถึง 9.5 ชั่วโมงในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าคนทั่วไป

ธนา สมบูรณ์พร้อม หรือ น่อน นักกีฬาอีสปอร์ตทีม KFC x Talon (NTNz)

รักเกม” ข้อแตกต่างของ “การติดเกม” ที่ทำให้ชีวิตสมดุลได้ดีกว่า

เพราะการเล่นเกมด้วยความรัก กับการติดเกมเป็นคนละเรื่องกัน การที่เรารักเกม เราจะหาจุดมุ่งหมายในการเล่น อยากแข่ง อยากเก่งขึ้น หรืออยากทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเกม เช่น การเป็นสตรีมเมอร์อะไรแบบนี้ แต่การติดเกม จะประมาณว่าเล่นเกมไปวันๆ

นี่เป็นคำพูดของ นายธนา สมบูรณ์พร้อม หรือ น่อน นักกีฬาอีสปอร์ตทีม KFC x Talon ที่หลายคนมักรู้จักเขาในชื่อ NTNz และตอนนี้เขาและทีมกำลังเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขัน “Arena of Valor Premier League 2022” ที่อธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า เพราะความรักในเกม แม้เขาจะเล่นมากก็จริง แต่เขามีจุดมุ่งหมาย ซึ่งจุดมุ่งหมายของเขานั้นไม่ได้ทำให้เขาเล่นมากเกินไปจนละเลยการทำหน้าที่ของตัวเอง หรือดูแลตัวเองไป

โดย น่อน เล่าให้ฟังว่า เขาเองก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นเด็กมัธยมปลายคนหนึ่งที่ชอบเล่นเกม เล่นไปแล้วก็รู้สึกว่าสนุกดี พอเล่นไปสักพักก็รู้สึกว่าตัวเองมีฝีมือเหมือนกัน จึงความฝันว่าอยากจะเข้ามาเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตแข่งขันในโปรลีกให้ได้สักครั้ง โดยเขาจะหาเวลาว่างหลังจากการเรียนมาเล่น เพื่อฝึกซ้อม และเข้าไปแข่งขัน จนท้ายที่สุดก็สามารถก้าวเข้ามาเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตตามที่ฝันได้

แต่ตอนที่เขาเข้ามาเป็นนักกีฬาเต็มตัวแล้ว แม้จะใช้เวลาอยู่กับเกมเพิ่มขึ้น โดยทางสังกัดจะจัดสรรเวลาอย่างช่วงบ่ายซ้อมไปจนถึงประมาณ 5 โมงเย็น หลังจากนั้นก็พักผ่อนกันประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วก็กลับมาซ้อมต่อตอน 1 ทุ่มไปจนถึงประมาณ 5 ทุ่ม

ซึ่งระหว่างที่พักนั้น เขาก็ไม่ได้เล่นเกมต่อแต่อย่างใด แต่จะไปกินข้าวบ้าง นอน หรือช่วงหลังๆนี้ ก็มีไปตีแบดบ้าง อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพราะรู้สึกว่าตัวเองเนือยๆ กับการเล่นเกม จึงอยากไปเพิ่มความกระชับกระเฉง 

ส่วนเรื่องอาหารนั้น ทางสังกัดจะจัดให้ ซึ่งก็จะมีคละๆ กันไปในแต่ละวัน มีอาหารคลีนบ้าง อาหารฟาสต์ฟู้ดบ้าง ตามความเหมาะสมที่ทางสังกัดเห็นว่าจะช่วยให้เราสุขภาพดีทั้งกายและใจ สามารถโฟกัสกับการฝึกซ้อมได้อย่างเต็มที่

สำหรับการนอน ด้วยลักษณะอาชีพที่ต้องฝึกซ้อมกันจนถึงดึก เพราะต้องมีการฝึกซ้อมกับทีมต่างชาติ แต่สามารถตื่นสายได้จนถึงประมาณ 10 หรือ 11 โมง ทำให้การนอน เพียงพออย่างแน่นอน

เอกพงศ์ โกรอฮอเนน หรือ โทนี่ กัปตันทีม KFC x Talon (Tony)

ส่วน นายเอกพงศ์ โกรอฮอเนน หรือ โทนี่ กัปตันทีม KFC x Talon ที่ทุกคนคุ้นหูกันในเกมว่า Tony ก็เล่าด้วยว่า ตัวเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เริ่มต้นมาจากการชอบเล่นเกมเหมือนกัน แต่จะเล่นหลังจากเรียน ทำการบ้าน หรือทำงานเสร็จ ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้มีเวลาเล่นมากนัก

ยอมรับว่า การเล่นเกมเยอะ อาจทำให้เก่งขึ้นได้จริง แต่การเล่นน้อยๆ ก็สามารถเก่งขึ้นได้เหมือนกัน ในจำนวนเกมที่เราเล่น เราสามารถดึงประสิทธิภาพในการซ้อมให้ดีที่สุดจะดีกว่า เพราะบางทีเล่นเยอะ แต่ไม่ได้โฟกัส มันก็จะกลายเป็นเกมที่ไร้ประสิทธิภาพไป

จะเห็นได้ว่าการเล่นเกมของนักกีฬาอีสปอร์ตที่เราคิดว่าเยอะนั้น แท้จริงแล้วอาจไม่ได้เยอะเท่าอย่างที่เราคิด แต่คือการมีจุดหมายและใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง แบร์ ผู้จัดการทีม KFC x Talon ที่ปรึกษาคนสำคัญของทีมนักกีฬา ก็บอกว่า การขาดสมดุลชีวิตทั้งกาย รวมถึงใจ นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อการเล่นเกม ทำให้เล่นได้ไม่ดีด้วย อย่างบางครั้งที่น้องบางคนไม่สบาย ปวดตา หรือมีปัญหาชีวิต เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าการเล่นเกมของเขาจะแตกต่างไปจากเดิม บางคนถึงขั้นเล่นไม่ได้เลยด้วยซ้ำก็มี นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักกีฬาอีสปอร์ต หรือคนรักเกม เขาอาจมีสุขภาพแข็งแรงกว่าคนติดเกม หรือคนปกติทั่วไป เพราะเขาต้องรักษาสมดุลทั้งกายและใจให้ดีที่สุด เพื่อการเล่นเกมที่มีจุดมุ่งหมายอย่างมีคุณภาพ

ปวดหลัง-ตา อารมณ์ร้อน ปัญหาที่มักเจอแต่ดูแลได้

ทีมอีสปอร์ตอีกทีมหนึ่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยด้วย คือ Buriram United Esports หนึ่งในสามทีมตัวแทนประเทศไทยที่กำลังเข้าแข่งขัน “Arena of Valor Premier League 2022” เช่นกัน ได้เล่าประสบการณ์ของพวกเขาให้ฟัง ผ่าน นายภาคินัย ศรีวิจารณ์ หรือ ท็อป กัปตันทีมเจาของชื่อในเกม KSSA ว่า พวกเราเองก็เป็นทีมที่ต้องฝึกซ้อมเล่นเกมกันประมาณวันละ 8 ชั่วโมง 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อพวกเราต้องเล่นเกมเป็นเวลานานๆ อาการปวดหลัง ปวดตา หรืออารมณ์ร้อนเองก็ตามมา เพราะเกม RoV เป็นเกมแข่งขันกับผู้เล่นอื่นแบบ 5 ต่อ 5 ระยะเวลาแต่ละแมทซ์ก็ใช้เวลาไม่นาน อารมณ์ที่ยังคุกรุ่นอยู่จึงเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา

โดย นายอนุรักษ์ แสงจันทร์ หรือ นุ เจ้าของฉายา NuNu เขาก็เคยบอกว่า การเล่นเกมทำให้เขาหัวร้อนอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อเล่นเสร็จแต่ละแมทซ์ก็จะพยายามหาอย่างอื่นทำ อย่างดูการ์ตูน เพราะช่วยให้เราอารมณ์ดี สนุกขึ้นได้

ส่วน นายสถิตธิราชย์ เชษฐนรงค์ หรือ ลี่ ที่หลายคนมักรู้จักกันในชื่อ Overfly ก็เคยปวดหลังจนถึงขั้นต้องไปหาแพทย์ให้ช่วยฝังเข็มกันเลยทีเดียว ตอนนี้ถึงแม้อาการปวดหลังจะยังมีขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ แต่ตอนนี้ทุกครั้งที่พัก เขาจะยืดเส้นยืดสายอยู่ตลอด

ผมเองก็ปวดตา และหัวร้อนบ่อยเหมือนกัน แต่เวลาว่างก็จะพยายามพักสายตาอยู่บ่อยๆ ส่วนถ้ารู้ตัวว่าตัวเองกำลังหัวร้อนอยู่ ก็มักจะไปหยิบน้ำมากิน ให้หายร้อน แล้วก็เลิกเล่นไปสักพักเหมือนกัน เพราะถ้าเล่นต่อด้วยอารมณ์หรือความไม่พร้อม ยังไงเราก็เล่นได้ไม่ดี

สรุปคือ เพื่อให้เล่นเกมได้ดี ปัจจัยสำคัญคือการรักษาสุขภาพร่างกายและใจ จึงเป็นเหตุผลให้นักกีฬาอีสปอร์ตต้องดูแลตัวเองให้ดีอยู่ตลอดเวลาทั้งกายและใจ เพราะความไม่พร้อมเพียงเสี้ยววินาที อาจทำให้เกมเปลี่ยนได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างของ “คนติดเกม” ที่ไม่ได้คำนึงว่าจะต้องเล่นให้ได้ดีหรือไม่ ดังนั้นแล้วการเล่นเกมนานจึงไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะต้องพังเสมอไป ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของเราในการเล่นมากกว่า

ทีม Buriram United Esports : ภาคินัย ศรีวิจารณ์ (คนซ้ายสุด), ยศพัฒน์ ขุนเณร, อนุรักษ์ แสงจันทร์, ชัชชนะพงศ์ พิจิตรวรการ และ สถิตธิราชย์ เชษฐนรงค์ (คนขวาสุด)

ขอบคุณข้อมูลจาก : IFLSCIENCE, ทีมนักกีฬาอีสปอร์ต KFC x Talon และ ทีมนักกีฬาอีสปอร์ต Buriram United Esports

บุรีรัมย์พร้อมเยือนเวียดนามหวนคืนความยิ่งใหญ่โลก RoV

Bacon เช็กบิล Buriram 4-2 ผงาดคว้าแชมป์สูงสุดโปรลีก

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.