eSport Sponsored

“ศูนย์ฯ สิริกิติ์” โฉมใหม่ปลุกกระแส MICE อวดยอดจองอีเวนต์ 130 งานจนถึงปี 2566 – Positioning Magazine

eSport Sponsored
eSport Sponsored

“ศูนย์ฯ สิริกิติ์” หลังปรับโฉมใหม่เตรียมเปิดบริการกันยายนนี้ อวดยอดจองอีเวนต์เข้ามาแล้ว 130 งานจนถึงปี 2566 คิดเป็นอัตราจองเฉลี่ย 70% ตั้งเป้าดันให้ถึง 80% หวัง COVID-19 คลี่คลายช่วยดันธุรกิจ MICE โดยต้องการเป็นศูนย์กลางการจัดงานของภูมิภาค CLMV ด้านพื้นที่รีเทลมีผู้เช่าแล้ว 40%

ศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดความคืบหน้าโครงการ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เตรียมเปิดบริการเดือนกันยายน 2565 โดยปรับปรุงใหม่มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น 5 เท่าเป็น 300,000 ตร.ม. (รายละเอียดการปรับปรุง ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ติดตามได้ที่นี่)

จากการขยายพื้นที่ ทำให้ศูนย์ฯ สิริกิติ์จะเป็นศูนย์ประชุมกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่ใหญ่ที่สุดหลังเปิดให้บริการ และการปรับสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการรองรับเทคโนโลยีทันสมัย และช่อง Loading Area ที่ใหญ่ขึ้น ศักดิ์ชัยมองว่าขณะนี้ศูนย์ฯ สิริกิติ์สามารถรองรับงานได้หลากหลายยิ่งขึ้น มีงานประเภทใหม่ๆ ที่ให้ความสนใจ เช่น การจัดแข่งขันอีสปอร์ตส, คอนเสิร์ต, การแสดงโชว์, งานแสดงสินค้าขนาดใหญ่

ภาพจำลองโซนร้านกาแฟในศูนย์ฯ สิริกิติ์

ปัจจุบันมีการจองพื้นที่จัดงานแล้วตั้งแต่เดือนแรกที่จะเปิดบริการ เช่น ASEAN Sustainable Energy Week 2022, FHT Food & Hospitality Thailand 2022 เป็นต้น

ศักดิ์ชัยกล่าวว่า ไลน์อัพงานอีเวนต์ที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์มีแล้วมากกว่า 130 งาน ยาวจนถึงปี 2566 คิดเป็นอัตราการจอง 70% ของพื้นที่ทั้งหมด และตั้งเป้าดันตัวเลขให้ถึง 80% โดยเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ เพราะสถานการณ์ COVID-19 น่าจะฟื้นตัวดีขึ้น และรัฐบาลอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าได้แบบ Test & Go ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้แล้ว ทำให้ธุรกิจ MICE น่าจะเป็นภาพขาขึ้น

ศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด

“เราได้เห็นจุดแข็งของเราด้วยว่า เมืองไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMV เมื่อมีใครจะจัดงานแฟร์ที่เน้นคนแถบนี้ ที่จริงแล้วเราได้เปรียบมากกว่าการไปจัดถึงสิงคโปร์ หรือฮ่องกง เพราะเรามีความใกล้เคียงทางวัฒนธรรมกันมากกว่า และเมื่อศูนย์ฯ สิริกิติ์ปรับตัวให้รองรับได้ในระดับนานาชาติ ผู้จัดงานแฟร์จากยุโรปหรือสหรัฐฯ ก็จะพิจารณาเรามากขึ้นเพราะรองรับได้” ศักดิ์ชัยกล่าว

  • เทียบฟอร์ม “ศูนย์ประชุม” ขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ

ขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นของศูนย์ฯ สิริกิติ์ทำให้ขณะนี้สามารถรองรับงานได้พร้อมกัน 5-10 งาน จากเดิมทำได้ 1-2 งานเท่านั้น ทำให้ศักดิ์ชัยมองว่ารายได้รวมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ เมื่อรับรายได้เต็มปีจะเติบโต 5 เท่า และจะมีผู้ร่วมชมงานถึง 13 ล้านคนต่อปี

พื้นที่รีเทลใหญ่ขึ้น 30% มีผู้เช่าแล้ว

สำหรับส่วนรีเทลของศูนย์ฯ สิริกิติ์มีพื้นที่ 12,000 ตร.ม. ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 30% และวางเป้าหมายไว้รองรับทั้งผู้มาร่วมงานและประชาชนโดยรอบพื้นที่ซึ่งมีโครงการพัฒนาเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เช่น สวนป่าเบญจกิตติที่ขยายใหญ่ขึ้น ตึกออฟฟิศ The PARQ, ThaiBev HQ, FYI center ทำให้การออกแบบส่วนรีเทลในศูนย์ฯ สิริกิติ์จะรองรับกลุ่มเป้าหมายอื่นด้วย โดยแบ่งสัดส่วนเป็น

  • กลุ่มหลัก 75% ผู้เข้าร่วมงานประชุม
  • กลุ่มรอง 15% กลุ่มมาออกกำลังกายที่สวนเบญจกิตติ
  • กลุ่มย่อย 10% คนทำงานและผู้อยู่อาศัยโดยรอบ
ผังพื้นที่รีเทล ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เน้นร้านอาหาร-เครื่องดื่มเป็นหลัก
พื้นที่รีเทล ศูนย์ฯ สิริกิติ์

“ธีรนันท์ กรศรีทิพา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ที่เข้ามาดูแลศูนย์ฯ สิริกิติ์ กล่าวว่า คอนเซ็ปต์การออกแบบรีเทลของที่นี่จึงอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ BALM หรือ Bangkok Active Lifestyle Mall เพราะมีส่วนที่เน้นรองรับชาวสวนเบญจกิตติที่รักการออกกำลังกายด้วย โดยมีการแบ่งสัดส่วนร้านค้าเช่า ดังนี้

  • 60% ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
  • 20% ร้านเครื่องกีฬาและบริการเธอราปี
  • 20% ร้านของใช้ในชีวิตประจำวัน
โซนกีฬาที่จะอยู่ใกล้ทางเชื่อมสวนเบญจกิตติ รองรับคนรักการออกกำลังกาย

ส่วนของร้านอาหารจะมีร้านที่เน้นด้านสุขภาพเข้ามาผสมผสานด้วย รวมถึงปีกอาคารที่ติดกับสวนเบญจกิตติจะเน้นให้เป็นโซนกีฬา เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับสวน มีทางเชื่อมตรงเข้าสวนเบญฯ แทบเป็นเนื้อเดียวกัน

ศูนย์ฯ สิริกิติ์คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประชุมต่างๆ 13 ล้านคนต่อปี เสริมด้วยประชาชนที่อาศัยโดยรอบ 3 แสนคน และคนทำงานออฟฟิศกว่า 1 แสนคน เหล่านี้จะเป็นตัวเลขสนับสนุนพื้นที่รีเทลว่าจะมีทราฟฟิกเข้าออกจากหลายแหล่ง ทำให้ปัจจุบันมีผู้เช่าจองพื้นที่แล้ว 40% และยังเปิดรับคัดเลือกร้านค้าเพิ่มเติมอยู่ขณะนี้

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.