eSport Sponsored

สองตัวแทน “Cryptomind Group-GuildFi” ชวนส่องโลกเมตาเวิร์ส ของจริงหรือจกตา? – มติชน

eSport Sponsored
eSport Sponsored

นับตั้งแต่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นำเสนอแนวคิดในการสร้างเมตาเวิร์ส คำนี้ก็กลายเป็นคำติดหู ผู้คนทั่วโลก ทำให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายรายไม่ยอมตกขบวน ต้องป่าวประกาศว่า พวกเขาเอง ก็เตรียมพัฒนาโลกใบใหม่นี้อยู่เหมือนกัน

แม้ชื่อหรูหรา แต่ผู้คนไม่น้อยอาจยังไม่เข้าใจว่า “เมตาเวิร์ส” หรือ “จักรวาลนฤมิต” คืออะไรกันแน่? อัครเดช เดี่ยวพานิช ประธานกรรมการ Cryptomind Group และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด (Merkle Capital) และ จรินทร ฐิตะดิลก ผู้ร่วมก่อตั้ง GuildFi แพลตฟอร์มด้านเกม คริปโตเคอร์เรนซี อันดับ 1 ของประเทศไทย จึงถือโอกาสนี้เสวนาในหัวข้อ “Metaverse & Blockchain: The Real Life Impact” ในงาน META THAILAND 2022 : ESPORTS & DIGITAL LIFE เมื่อวันที่ 23 มกราคม ในรูปแบบออนไลน์ แถลงไขอย่างละเอียดว่า เมตาเวิร์สคืออะไร และคนไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก โลกใบนี้

จักรวาลที่ปราศจากเส้นแบ่งพรหมแดน

เมตาเวิร์สอาจไม่มีนิยามความหมายทางการ แต่ในความคิดของอัครเดช เมตาเวิร์สคือโลกเสมือน ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอด  24 ชั่วโมง และผู้คนสามารถใช้ประโยชน์จากโลก ใบนี้ได้หลายรูปแบบ 

“เมตาเวิร์สไม่ได้มีแค่โลกเดียว เพราะบริษัทใหญ่ๆ อย่าง เฟซบุ๊ก ไมโครซอฟท์ และบริษัทอื่นๆ กำลังสร้างเมตาเวิร์สของตัวเองอยู่ ให้คนเลือกได้ว่าจะเข้าไปอยู่ในโลกไหน แต่ศูนย์กลางสำคัญคือตัวเรา เองที่สามารถทำงาน สร้างรายได้ แล้วเอาสิ่งที่ได้ไปแปลงมูลค่า เพื่อใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้

“ในอดีต เรามีช่องทางการฝากเงินแค่ในธนาคารของไทย จะลงทุนในต่างประเทศก็มีความยุ่งยาก แต่ถ้าเราถือเหรียญคริปโตฯ จะลงเงินเท่าไหร่ก็ได้ภายในคลิกเดียว และสามารถย้ายเงินจากแพลตฟอร์ม หนึ่งไปอีกแพลตฟอร์มหนึ่งได้ทันทีเช่นกัน” อัครเดช บอก

จรินทรเสริมว่า โดยหลักแล้ว เมตาเวิร์สคือโลกที่ทุกอย่างเป็นจริงได้ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือระบบที่ธุรกรรมไม่สามารถย้อนกลับได้ ภาพจำของคนในอดีตอาจนึกถึงแชร์ลูกโซ่ แต่บล็อกเชนมาพร้อมความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมได้ละเอียด เพราะทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน

“ถ้าเฟซบุ๊กปิดกิจการ ทุกอย่างในเฟซบุ๊กจะหายไป แต่ในเมตาเวิร์ส ด้วยระบบบล็อกเชน ต่อให้เฟซบุ๊กปิดตัว สิ่งที่เราสร้างขึ้นจะไม่หายไป และเอามาใช้ต่อได้เพราะมีบล็อกเชนช่วยยืนยัน ความเป็นเจ้าของ ความมีตัวตนดำรงอยู่ บล็อกเชนไม่มีประเทศ ไม่มีชาติ ไม่มีพรหมแดน มีเพียงเลขไม่กี่ชุด ดังนั้นคุณไม่ต้องรู้ว่าเราคือใคร ถ้าอยากซื้ออะไร ก็สามารถซื้อได้เลย” 

ของชิ้นเดียว กับคุณค่าบนโลก 2 ใบ 

แม้ปัจจุบัน เมตาเวิร์สยังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็สร้างโอกาสใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น เกิดเกมแนว play to earn ที่ยิ่งเล่นก็ยิ่งได้เงิน แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินจริงๆ ได้ รวมถึงพื้นที่ซื้อขาย งานศิลปะในรูปแบบของเอ็นเอฟที (NFT) ที่ปัจจุบันมีศิลปินไทยจำนวนมากใช้ช่องทางนี้ขายผลงานให้ คนทั่วโลก

ผู้ร่วมก่อตั้ง GuildFi เชื่อว่า ยิ่งเมตาเวิร์สใกล้เข้ามา ยิ่งเป็นโอกาสของคนทำงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น กราฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบเสื้อผ้า รวมถึงช่างทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะสินค้าที่ออกแบบ สามารถซื้อขายได้ใน โลกเมตาเวิร์ส แล้วใช้งานได้จริง 100%

“ทำไมต้องซื้อของพวกนี้ เพราะผู้คนจะใช้เวลาในโลกเสมือนมากกว่าโลกจริงด้วยซ้ำ เพื่อเอาไปโชว์ ของในโลกเสมือน คนทำงานด้านครีเอทีฟ สามารถสร้างของเพื่อตอบสนองคนได้ทุกเพศทุกวัย และคนทั่วโลก มองเห็นพร้อมกัน ครีเอเตอร์คนไหนจับทางได้ จะไปได้ไกลกว่าคนอื่น”

ขณะที่ประธานกรรมการ Cryptomind Group เสริมว่า ประโยชน์ของการซื้อขายงาน NFT คือการยืนยัน ได้ว่า ของชิ้นไหนจริง ของชิ้นไหนปลอม

“ต่อไปสินค้าที่ซื้อขายจะแบ่งได้ 3 แบบ คือ 1. ของจริงในโลกจริง 2. ของที่มีในโลกดิจิทัลอย่างเดียว และ 3. ของไฮบริด มีทั้งของในโลกจริงและโลกเสมือน ต่อไปเราซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมแบบ NFT ก็อาจได้ ของจริงมาใช้งานด้วยได้ และยิ่งของที่มีคุณค่าต่อทั้ง 2 โลก ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้นเท่านั้น”

พื้นที่สีเทาที่ไม่ควรถูกครอบงำ

เหมือนจะมีแต่ด้านสวยหรู แต่ทั้งอัครเดชและจรินทรก็บอกว่า เมตาเวิร์สยังมีอีกหลายประเด็น ที่ต้องลองผิดลองถูก และความใหม่ของมันยังมาพร้อมความเสี่ยงไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงิน 

“ถ้าออกแบบผิดนิดเดียว เงินจะไหล แล้วมันไหลจริง ไหลเร็ว หายไปหมดทันที โลกเมตาเวิร์สเป็นดาบ 2 คม เหมือนกล่องแพนโดร่าที่เราไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง จนกว่าตลาดจะโตเพียงพอ” อัครเดช ให้ความเห็น

อีกสิ่งที่ทั้งคู่เห็นพ้องต้องกันคือ เมตาเวิร์สอาจมีความเสี่ยงสูง แต่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งหาก หน่วยงาน รัฐบาลจะรีบตีกรอบ วางกฎระเบียบตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะเป็นการตัดตอนไม่ให้เติบโตและพัฒนา

“กฎหมายตามเทคโนโลยีไม่ทันแน่นอน ระบบบล็อกเชนไม่ต้องรอใครมาตรวจสอบ ทุกคนตรวจสอบ กันเองได้ ต่อไปคนต่างชาติสามารถซื้อบ้านในประเทศไทย หรือคนไทยจะไปซื้อบ้านต่างประเทศ ก็ทำได้ ภายใน 1 คลิก โดยไม่ต้องพึ่งพาเอกสารกระดาษ ถ้ากฎหมายตามเทรนด์ปัจจุบันทันจะดีมากๆ แต่โลกคริปโตฯ ยังเป็นสีเทา มีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้” จรินทร ผู้ร่วมก่อตั้ง GuildFi ให้ความเห็น

“รัฐบาลควรปล่อยให้มันเติบโตเอง คนทำธุรกิจเองยังไม่รู้อะไรเลยว่าจะออกมายังไง ดังนั้นไม่ควร สร้างกรอบความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่ยังไม่เกิด ให้เขาลองถูกลองผิดกันไปก่อน เมื่อเกิดนวัตกรรมที่แน่นอนแล้ว ถึงตอนนั้นค่อยมาขอความคิดเห็น เพื่อสร้างระเบียบร่วมกันยังได้ เพราะสุดท้ายยังไงมันก็ต้องเกี่ยวกับโลกจริง เราต้องการแค่นี้” อัครเดช ซีอีโอ เมอร์เคิล แคปปิตอล เสริม

มหาอำนาจใหม่ ไทยก็เป็นได้

ทุกครั้งที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง จะมีมหาอำนาจหน้าใหม่เกิดขึ้นเสมอ จรินทรมองว่า ปัจจุบันบริษัทที่มีทรัพยากรพร้อมสุดอย่าง “เมตา” หรือชื่อบริษัทเดิมคือเฟซบุ๊ก ยังไม่สามารถสร้างเมตาเวิร์สให้เข้าถึงทุกคนได้จริง ดังนั้น โอกาสจึงยังเปิดกว้างสำหรับทุกคน แม้กระทั่งประเทศไทยเอง

“เพราะทุกคนเพิ่งเริ่มต้น ยังไงไทยก็ตามทัน มันเป็นโลกเปิด ไม่มีใครมาบอกว่าไทยทำไม่ได้ ถ้าประเทศไทยสำเร็จ เมื่อนั้นจะเกิดอาชีพ โอกาสใหม่ๆ มากไปหมด”

อัครเดชก็เห็นด้วยกับจรินทร พร้อมคาดว่า อาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี เมตาเวิร์สถึงจะใช้งานได้จริง เป็นโอกาสของประเทศเล็กๆ อย่างไทย ในการสร้างที่ทางของตัวเองได้

“ทุกวันนี้ กลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคนสร้างสรรค์ด้านคริปโตเคอร์เรนซี ด้าน ระบบการเงินไร้ตัวกลางเยอะมาก และได้รับการยอมรับมากกว่าที่ซิลิคอนวัลเลย์ด้วยซ้ำ การมีคนบุกเบิกเมตาเวิร์สก่อน จะทำให้เรามีผู้เชี่ยวชาญ เป็นคลื่นลูกแรกที่บอกได้ว่า ทำอะไรได้ ไม่ได้ ต่อไปจะมีคอร์สสอนว่าต้องเรียนด้านไหน สร้างสรรค์อะไรดี และอื่นๆ อีกมากมาย

“ใครจะไปรู้ เด็กในยุคดิจิทัลอาจยิ่งมีความเข้าใจ และความคุ้นเคยกับโลกเหล่านั้น บางคนอาจเห็นโอกาส มุ่งมั่นกับการเป็นนักเล่นเกมล่ารางวัล ไม่ได้แค่เล่นพอเลี้ยงชีพ แต่เป็นถึงตัวท็อป ได้เงินเยอะพอจะตั้งบริษัทตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 18 ปี ทำรายได้มหาศาลก็เป็นได้” อัครเดช คาดการณ์

งาน META THAILAND 2022 : ESPORTS & DIGITAL LIFE อาจสิ้นสุดลงแล้ว หากใครพลาดสาระจากงานเสวนาดีๆ รวมถึงการแข่งขันอีสปอร์ต 2 เกมดัง RoV และ Free Fire ตลอดวันที่ 21-23 มกราคม 2565 สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง https://www.metathailand.io/ และเฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/metathailand2022/

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.