เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเจ้าภาพมหกรรมเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 19 จัดอีเวนต์นับถอยหลัง 1 ปีเพื่อแสดงความคาดหวังต่างๆ โดยภายในงานได้มีการเปิดตัวคบเพลิง และชุดยูนิฟอร์มประจำการแข่งขัน “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์” เพื่อเชิญชวนให้ทั้งโลกร่วมติดตาม
เมื่อ 6 ปีที่แล้ว หางโจว ได้กลายเป็นเมืองที่ 3 ของจีนที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมเอเชี่ยนเกมส์ตามรอยกรุงปักกิ่งและเมืองกวางโจว มหกรรมเอเชี่ยนเกมส์ เปรียบเป็นงานกาล่าแห่งวงการกีฬาของเอเชีย โดยไม่ได้เป็นอีเวนต์กีฬาเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงความเจริญรุ่งเรืองของเมือง ท่ามกลางการมีส่วนร่วมของประชาชน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และภาพลักษณ์ในระดับสากล
“หางโจว เอเชี่ยนเกมส์” วางตำแหน่งโดยรวมให้เป็น “New Era, Great Asian Games” ซึ่งมีคอนเซปต์อยู่ที่การจัดอีเวนต์อย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีชาญฉลาด ประหยัด และมีจริยธรรม โดยได้เอาชนะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมีความคืบหน้าอย่างแข็งแกร่งในการเตรียมการในแง่มุมต่างๆ
ปีนี้เป็นปีชี้ชะตาสำหรับการเตรียมจัดมหกรรม “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์” ซึ่งมีสถานที่จัดการแข่งขัน 55 แห่ง หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ 5 จุด และหมู่บ้านย่อยรองรับนักกีฬาในหางโจว ตลอดจนเมืองเจ้าภาพร่วมอีก 5 เมืองในมณฑล
ปัจจุบัน สถานที่จัดการแข่งขันได้สร้างเป็นอันแล้วเสร็จไป 42 แห่ง และกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบการแข่งขัน โดยคาดว่าสถานที่ทั้งหมดจะส่งมอบและเริ่มทดลองจัดการแข่งขันได้ก่อนปลายปี 2564 และนับจนถึงเดือนมีนาคมของปีนี้ได้เปิดรับนักกีฬาลงแข่งรอบแรกแล้ว ในการแข่งขันปีที่ผ่านๆ มานั้นมีนักกีฬาจาก 45 ประเทศ (ภูมิภาค) เข้าร่วมแข่งขัน โดยได้รวมประเทศ (ภูมิภาค) ในกลุ่มโอเชียเนียเป็นครั้งแรก ครอบคลุมกีฬาทั้ง 66 สาขาของเอเชียนเกมส์
เจ้าชายอาห์เหม็ด ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้กล่าวชื่นชมการเตรียมจัดมหกรรม “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์” ในการประชุมสามัญครั้งที่ 39 ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ว่า “การเตรียมจัดมหกรรม Hangzhou Asian Games ได้มีความคืบหน้าสำคัญและมีตัวชูโรงมากมาย”
อีกผลลัพธ์สำคัญของการประชุมครั้งนี้คือการประกาศว่า การแข่งขันอีสปอร์ต และเบรกแดนซ์ได้รับการบรรจุลงในการแข่งขัน “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์” อย่างเป็นทางการ โดยนับจนถึงวันนี้ มหกรรมดังกล่าวจะจัดการแข่งขันกีฬา 40 ประเภท และ 61 สาขา โดยการนำกีฬาอีสปอร์ตมาไว้ในการแข่งขันนี้อย่างเป็นทางการ ก็เป็นอีกจุดเด่นสำคัญที่แสดงให้เห็นนวัตกรรมและการเปิดกว้างของการแข่งขัน “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์”
“ความชาญฉลาด” เป็นที่เอ่ยถึงบ่อยครั้งระหว่างการเตรียมจัดมหกรรม หางโจว เอเชี่ยนเกมส์ การสร้างการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่ ชาญฉลาด ได้กลายเป็นจุดโฟกัสสำคัญสำหรับคนจากทุกที่ไม่ว่าจะในจีนหรือต่างประเทศ โดยทางคณะกรรมการผู้จัดการแข่งขัน หางโจว เอเชี่ยนเกมส์ ได้นำการยกระดับสู่ดิจิทัลมาเป็นกลไกสำคัญ และอาศัยข้อได้เปรียบของเศรษฐกิจดิจิทัลในเจ้อเจียงและหางโจว ในการส่งเสริมการพัฒนา Smart Asian Games”การผนวกรวมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ากับการจัดเอเชียนเกมส์นั้นปรากฏให้เห็นในการจัด เข้าร่วม และรับชมการแข่งขัน นักกีฬาทั่วเอเชียและบรรดาผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับความชาญฉลาดของเมืองอัจฉริยะและเสน่ห์ของเมืองโลกอนาคต
เฉิน เว่ยเฉียง รองเลขาธิการคณะกรรมการผู้จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 หรือ “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์ 2022″ และรองนายกเทศมนตรีเมืองหางโจว ได้ยกตัวอย่างไว้ว่า ในเรื่องของสถานที่อันชาญฉลาดนั้น “Big Lotus” หรือสนามกีฬา Hangzhou Olympic Sports Centre Stadium คว้ารางวัลมาแล้วมากมายในจีน ขณะที่ “Little Lotus” หรือ Tennis Centre ก็หมุนปิดได้ตามสภาพอากาศอันเป็นผลจากเทคโนโลยีชั้นนำของโลก
“เพื่อให้การแข่งขันประสบความสำเร็จและพัฒนาเมืองไปพร้อมกัน การก่อสร้างสนามกีฬาของเราได้ยึดการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์และการใช้งานหลังจัดเอเชียนเกมส์เป็นหลัก โดยไม่ได้มีขึ้นเพื่อรองรับการจัดเอเชียนเกมส์เท่านั้น เพราะที่สำคัญกว่านั้นคือเพื่อทิ้งมรดกตกทอดของการแข่งขันนี้ไว้ให้เมืองและผู้อยู่อาศัย” โดยเมืองหางโจวจะใช้สถานที่หลังจัดเอเชียนเกมส์ให้บ่อยขึ้น พร้อมส่งเสริมกีฬาให้กับทุกคน ผลักดันเอเชียนเกมส์ให้กลายเป็นแบรนด์ประจำเมือง เชิญชวนให้ผู้คนมาเยือนเมืองหางโจวกันมากขึ้น ทำความรู้จักกับมณฑลเจ้อเจียง และเปิดโอกาสให้โลกได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของหางโจว”
การเตรียมจัดมหกรรมเอเชียนเกมส์จะเดินหน้าสานความร่วมมือด้านกีฬา พัฒนาเมืองอัจฉริยะ และสร้างแบรนด์ต่อไป นอกจากนี้ ยังจะมีการสร้างอีเวนต์กีฬาและวัฒนธรรมชั้นยอดในแบบของจีนที่สะท้อนเสน่ห์ของมณฑลเจ้อเจียงและกลิ่นอายของเมืองหางโจวด้วย เพื่อให้ “หางโจว เอเชี่ยนเกมส์” สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งโลกในปี 2565
“เครือซีพี” เบื้องหล…
This website uses cookies.