eSport Sponsored

อีสปอร์ต 101: กฎ กติกา อะไรบ้างที่ควรรู้ ถ้าไม่อยากตกม้าตายตอนแข่งจริง? – กรุงเทพธุรกิจ

eSport Sponsored
eSport Sponsored

20 เมษายน 2564 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

273

ก่อนจะพลาดท่าโดนแบนตอนแข่งอีสปอร์ตมาดูกันว่าอะไรบ้างคือข้อบังคับที่นักกีฬาทุกคนควรต้องทราบ

แม้ว่า ณ วันนี้กีฬาอย่างอีสปอร์ต (Esport: Electronic sports) จะได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศไทยจนเยาวชนให้ความสนใจในการเข้าร่วมแข่งขันอย่างคับคั่ง แต่หลายคนก็อาจยังไม่ได้เข้าใจกฎระเบียบ กติกา ข้อบังคับที่สำคัญที่แท้จริงในการแข่งขัน 

หรือบางทีก็อาจลืมตัวไปชั่วขณะแบบ “เด็กซ์เตอร์” (DEXTER) ผู้เล่นรายหนึ่งในทีม “ต้ม ยำ กุ้ง” (Tom Yum Koong) ของประเทศไทยที่กำลังเป็นประเด็น เพราะเผลอฝากแฟนสาวเดินเกมจากการปวดท้องเข้าห้องน้ำ แต่กว่าจะได้สติก็สายเสียแล้ว ทำให้ทีมโดนตัดสิทธิ์จากการแข่งขันและเจ้าตัวโดนพักงานไป 6 เดือนเต็มๆ 

มาดูกันว่ากฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับ และการกระทำอะไรบ้างที่เข้าข่ายโกง เวลาทำการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตกันจริงๆ ?

– ผู้ประสงค์เป็นนักกีฬาอีสปอร์ตต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป หากมีอายุในช่วง 13-18 ปี ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้ปกครองที่ระบุครบถ้วนชัดเจนว่า จะเล่นกิจกรรมอะไร ช่วงเวลาไหน ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ ชื่อเกม และรายละเอียดอื่นๆ ที่สำคัญ นอกจากนี้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีจะไม่สามารถลงแข่งได้

ผู้ลงแข่งขันต้องมีตัวตนจริงในการเป็นสมาชิก สามารถชี้ชัดรายละเอียดทีมที่สังกัดได้ รวมถึงต้องระบุว่าตนเองมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการเล่นระดับใดด้วย

ผู้ลงแข่งขันต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อแสดงให้ผู้จัดการแข่งขันเห็นอย่างโปร่งใส เช่น ผลการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ เพื่อค้นหาสารเสพติดและตรวจสอบว่านักกีฬาไม่ได้ใช้สารกระตุ้นในการลงแข่งขัน

ห้ามไม่ให้ผู้ลงแข่งขันใช้คำหยาบคาย วาจาที่ไม่สุภาพ มีความรุนแรง หรือถ้อยคำคุกคามทางเพศ  เพราะในการถ่ายทอดสดการแข่งขันมีเด็กและเยาวชนรับชมเป็นจำนวนมาก (ข้อนี้นักแคสเกมหรือนักพากย์เกมก็ไม่สมควรทำเช่นกัน)

ต้องให้ความสำคัญกับระบบการดูแลความปลอดภัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อป้องกันแฮกเกอร์ซึ่งอาจทำให้ผู้แข่งเสียเปรียบได้ขณะแข่งขัน

หากผู้แข่งขันถูกจับได้ว่าทำการโกงการแข่งขันจะต้องถูกลงโทษด้วยการแบนไม่ให้สามารถเข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้นๆ ได้อีก รวมถึงระยะเวลายาวนานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกระทำ หากทำผิดบ่อยครั้ง อาจโดนตัดสิทธิ์การแข่งขันตลอดชีวิต

ห้ามไม่ให้สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบริการจำพวกเว็บไซต์พนันเป็นสปอนเซอร์ในการแข่งขันอย่างเด็ดขาด หากตรวจสอบพบว่ามีการสนับสนุนในลักษณะนี้เกิดขึ้นจะถูกยกเลิกกิจกรรมทันที

ต้องแสดงการเคลื่อนไหวการเข้าออกของเงินในบัญชีส่วนตัว เพื่อให้ตรวจสอบได้ว่า ไม่ได้มีการรับจ้างเล่นเกมเกิดขึ้น 

เครดิตภาพ: Pixabay @dife88

  • การกระทำลักษณะไหนที่เข้าข่าย “โกง”

มีการใช้โปรแกรมช่วยเล่น โปรแกรมโกง หรือดัดแปลงแก้ไขเกม (MOD: Modification)

พูดคุยในช่องสนทนา (ALL) มากเกินความจำเป็น

ทำให้ฝั่งตรงข้ามชนะอย่างชัดเจนอย่างผิดวิสัย 

พยายามหลอกลวงทีมงานที่จัดการแข่งขัน

เครดิตภาพ: Unsplash @FlorianOlivo

  • การกระทำไหนที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถ “ทำได้”

หากมีฝ่ายใดกดหยุดเกม (Pause) อีกฝ่ายสามารถกดดำเนินเกมต่อได้ทุกกรณี

สามารถเปลี่ยนชื่อทีมได้ อนุโลมแค่เฉพาะกรณีมีการเพิ่มเติมสปอนเซอร์ แต่ต้องมีชื่อเดิมอยู่ในชื่อใหม่ด้วย

สามารถรีเมคเกมได้โดยต้องได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่ายเท่านั้น 

สามารถทำเรื่องถอดถอนหัวหน้าทีมได้ หากหัวหน้าทีมไม่มีความชอบธรรมในการดูแลคนในทีม โดยต้องมีสมาชิก 3 คนขึ้นไปจึงจะสามารถทำเรื่องถอดถอนได้

– ผู้แข่งขันสามารถสามารถย้ายทีมหรือถอนตัวได้โดยไม่ต้องได้รับคำการอนุญาตจากหัวหน้าทีม แต่สามารถทำได้หลังจบการแข่งขั้นแมตช์นั้นๆ เท่านั้น

อีสปอร์ตก็เป็นกีฬาประเภทหนึ่งไม่ต่างกับกีฬาอื่นๆ ที่ต้องลงสนามจริง ดังนั้นแล้วหากทำตามกฎ-กติกาได้เป็นอย่างดี ผู้แข่งก็จะไม่ต้องโดนตัดสิทธิ์หรือออกจากการแข่งขันอย่างแน่นอน

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.