“เกม” ขุมสมบัติแห่งยุคดิจิทัล

โดยเกมบนสมาร์ทโฟน ถือเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เฉพาะอีกทั้งเกมบนสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีโมเดลธุรกิจแบบ free-to-play ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงสามารถดึงดูดผู้เล่นเกมรายใหม่ได้มาก ทำให้คาดกันว่าภายในปี 2566 จำนวนผู้เล่นเกมบนสมาร์ทโฟนจะสูงแตะ 2,500 ล้านคนหรือราว 1 ใน 3 ของประชากรโลกเลยทีเดียว

นอกจากนั้น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในเกม เช่น augmented reality (AR), virtual reality (VR) และ cloud gaming ยังถือเป็นปัจจัยที่จะช่วยสร้างประสบการณ์การเล่นเกมให้สนุกมากยิ่งขึ้น ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีผู้เล่นเกมอยู่ราว 27 ล้านคน

EIC ระบุ โมเดลธุรกิจของเกมปัจจุบัน ไม่ได้เน้นการขายตัวเกมเป็นหลัก แต่เน้นการสร้างเครือข่าย network effects ให้ผู้เล่นชวนเพื่อนมาเล่นเพื่อขยายฐานลูกค้า และสร้างการมีส่วนร่วมหรือ engagement ของผู้เล่นให้อยู่ใน ecosystem ของเกมให้นานขึ้น โดยโมเดลธุรกิจแบบดิจิทัลของเกมเอื้อให้ผู้พัฒนาเกมสามารถสร้างรายได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น 1.การขายสินค้าดิจิทัลในเกม (in-app purchase) 2.การขายระบบสมาชิก (subscription) เพื่อสร้างรายได้ (recurring revenue) จากผู้เล่นประจำ 3.การขายโฆษณา

นอกจากนี้ เกมที่เป็นที่นิยมยังสามารถใช้เนื้อเรื่อง ตัวละคร และสัญลักษณ์จากเกมนำไปต่อยอดเพื่อผลิตเป็นสื่อบันเทิงชนิดอื่น เช่น ภาพยนตร์ เพลง หรือสินค้าที่ระลึก (merchandise) และของเล่นจากเกม เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้ผู้พัฒนาเกมและพับบลิชเชอร์ได้อีกช่องทางหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเติบโตของอีสปอร์ตที่ดึงดูดผู้ชมที่ไม่จำกัดเฉพาะแต่เพียงผู้เล่นเกมเท่านั้น และยังสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อีกเป็นจำนวนมาก

โดยปัจจุบันมีการทำการตลาดและโฆษณาใน ecosystem ของเกม ได้แก่ 1.การโฆษณาผ่านตัวเกม ที่มีพื้นที่และลูกเล่นมากมายให้ได้ประยุกต์ใช้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น ฉากและไอเท็มในเกม ระหว่างดาวน์โหลดด่าน หรือการเอาตัวละครในเกมมาเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา 2.การทำการตลาดร่วมกับเกมสตรีมเมอร์ ที่เปรียบเสมือนดาราหรือ internet influencer อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้เล่นเกม สามารถให้โปรโมตแบรนด์ระหว่างสตรีมเกมหรือเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา 3.การสปอนเซอร์อีสปอร์ตผ่านการแข่งขัน, ทีมและนักแข่งอีสปอร์ต.