ไตรมาสแรกของปี 2564 ใกล้จะผ่านพ้นไปแล้ว ภาพรวมการลงทุนทั่วโลกเริ่มมีความชัดเจนเพิ่มขึ้นว่าสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์อื่น และจากการสอบถามความคิดเห็นของกองทุนไทย ล้วนเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เวลานี้สินทรัพย์เสี่ยงฮอตที่สุด และตลาดหุ้นจีนรวมทั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ยังครองแชมป์ด้านความน่าสนใจ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยนั้น แม้จะมีความน่าสนใจอยู่ แต่ราคาอาจใกล้เต็มมูลค่าแล้ว
อดิศร เสริมชัยวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ทหารไทย (TMBAM Eastspring) บลจ.ธนชาต กล่าวว่า หากประเมินจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว ภูมิภาคเอเชียจะมีการฟื้นตัวเร็วสุด รองมาคือสหรัฐอเมริกา และยุโรปตามลำดับ โดยปัจจัยหนุนหลักๆ ยังมาจากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังของธนาคารกลางแต่ละประเทศ
โดยรวมล้ว เชื่อว่าจะได้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป และการดำเนินนโยบายคิวอีก็จะมีต่อไปตามคำมั่นของธนาคารกลางแต่ละแห่ง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะค่อยๆ ลดปริมาณการทำคิวอีลงใน 1-2 ไตรมาสจากนี้
สำหรับการจัดพอร์ตลงทุน เพื่อให้สอดรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนะนำให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง หรือตลาดหุ้นทั่วโลก เพื่อกระจายความเสี่ยง รองมาคือตลาดหุ้นเอเชียโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เพราะเป็นเทรนด์ธุรกิจที่จะมีการเติบโตอย่างมาก อาทิ เทคโนโลยีด้านถอดรหัสพันธุกรรม หรือ จีโนมิกส์ เป็นต้น
อีกทั้ง ควรจัดสรรการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทรีท เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์น่าจะเริ่มกลับมาดีพร้อมกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยน่าจะได้ผลตอบแทนราว 5-6%
สำหรับหุ้นไทย ในมุมมองของเรายังคิดว่าน่าสนใจ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มใหญ่ กลุ่มหุ้นคุณค่า เนื่องจากราคาค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม หากประเมินการเติบโตในอนาคตแล้ว หลายเซกเตอร์ยังมีความท้าทายรออยู่อีกมาก
“สภาพคล่องเป็นเหมือนยากระตุ้นที่ให้แรงมากก็ไม่ดี ถ้าเศรษฐกิจแข็งแรงดีแล้ว ควรปล่อยให้ฟื้นตัวเองจะดีกว่า สถานการณ์ปัจจุบันนี้ มีความเป็นไปได้ที่ยากระตุ้นจะค่อยๆ ถูกถอนออกไปใน 1-2 ไตรมาส แต่การจะดูว่าควรซื้อ หรือไม่ควรซื้อหุ้น ต้องดูที่เศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจยังเติบโตได้ต่อเนื่องแม้ไม่มียากระตุ้นแล้ว ทำไมจะไม่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง”
สาห์รัช ชัฏสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาดและที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกค่อนข้างผันผวนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเศรษฐกิจรวมไม่น่ากังวล และมองว่าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นเป็นโอกาสที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตลาดหุ้นต่างประเทศ
ตลาดหุ้นต่างประเทศที่น่าสนใจคือ จีน และสหรัฐฯ โดยตลาดหุ้นจีนมีปัจจัยหนุนคือ การเติบโตของเศรษฐกิจที่น่าจะขยายตัวได้ถึง 8% รวมถึงอานิสงส์จากการฉีดวัคซีนในจำนวนที่มาก และเป็นที่คาดหวังว่าจะกลับมาเปิดประเทศในเร็ววันนี้
ขณะเดียวกัน ธีมธุรกิจที่จะเติบโตในระยะ 5-10 ปีจากนี้ คือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่สร้างการเติบโตมาจากประเทศจีนและสหรัฐฯ
“ในการทำ Asset Allocation แนะนำให้ลงทุนหุ้นต่างประเทศ 70% และหุ้นไทย 30% โดยตลาดหุ้นต่างประเทศที่แนะนำคือตลาดหุ้นจีนและสหรัฐอเมริกา หุ้นที่น่าสนใจยังเป็นกลุ่มเทคโนโยลี-นวัตกรรม เฮลท์แคร์ การบริโภคในประเทศจีน และ New Economy”
สำหรับตลาดหุ้นไทย มองว่าระดับดัชนี 1,550 จุด เป็นระดับที่สะท้อนปัจจัยบวกทุกอย่างไปแล้ว ทั้งธีมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง ในระยะนี้จึงต้องรอให้ดัชนีปรับฐานอีกครั้งให้สอดรับกับปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจที่แท้จริง จึงค่อยหาจังหวะเข้าลงทุนในหุ้นไทย
วิริยะชัย จิตตวัฒนรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย Investment Management บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะนำการทำ Asset Allocation สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ปานกลาง ให้ลงทุนในหุ้น 40% และลงทุนในตราสารหนี้ 60%
ในการลงทุนในหุ้น 40% ของพอร์ตลงทุน แบ่งเป็นกลุ่มสถาบันการเงินระดับโลก 10% กลุ่มอี-สปอร์ตสหรัฐฯ 5% ตลาดหุ้นโลก 15% และตลาดหุ้นจีน 10%
ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ 60% แนะนำลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ 25% โดยอาจพิจารณาลงทุนในกองทุน Mortgage-Backed Securities (MBS) ในสหรัฐฯ, ตราสารหนี้ไทยระยะสั้น 25% และรีท 10%
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำเพิ่มสัดส่วนลงทุนในหุ้นเป็น 70% และตราสารหนี้ 30% อย่างไรก็ตาม มองว่าผลตอบแทนจากตลาดหุ้นปี 2564 จะไม่ร้อนแรงเท่าปี 2563 ที่ผ่านมา ดังนั้น แม้นักลงทุนจะรับความเสี่ยงได้สูง แต่อาจจะได้รับผลตอบแทนจากโมเดลพอร์ตนี้ราว 12% เท่านั้น
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
“เครือซีพี” เบื้องหล…
This website uses cookies.