eSport Sponsored

เอาตัวรอดติดเชื้อโควิดฯ หากต้องกักตัวเองอยู่บ้าน

eSport Sponsored
eSport Sponsored

โควิด-19 ระลอก 3 ในไทยช่วงปลายเดือน เม.. ยังถือว่าค่อนข้างเข้าขั้นวิกฤติ หลังจาก ยอดติดเชื้อรายใหม่ ทั่วประเทศ ก้าวกระโดด ทะยานขึ้นวันละกว่า 2 พันคน มาต่อเนื่อง 4 วันติด ๆ แล้ว (22-25 เม..) โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร วันที่ 25 เม..วันเดียว ยอดติดเชื้อรายใหม่ มากถึง  900 คน ทำให้มีตัวเลขติดเชื้อรายใหม่ตั้งแต่วันที่ 1-25 เม.. จำนวน 28,645 คน แต่ที่น่าตกใจ โควิดระลอก 3 นี้ ผู้เสียชีวิต แค่สัปดาห์เดียวยังพุ่งไปถึง 40  คน

เรียกว่าทั้งติดง่าย และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ถ้าผู้ติดเชื้อมีโรคประจำตัว  !!

เกือบทุกวันยังเห็นความเคลื่อนไหวในโลกโซเชียล ที่พยายามช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ที่ต้องกักตัวเองอยู่ในบ้านมาหลายวัน แต่ทางโรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับเพียงพอจึงต้องเฝ้ารออยู่บ้าน ทีมข่าว 1/4 Special Report เคยนำเสนอครอบครัวผู้ติดเชื้อย่านสายไหมที่กว่าจะมีรถพยาบาลมารับตัวได้ ต้องรออยู่บ้านนานหลายวัน สุดท้ายกลายเป็นติดเชื้อโควิดกันทั้งครอบครัว 6 คน ถัดมายังมีเคสของ ครอบครัวอาม่า ย่านบางคอแหลม  3 พี่น้องสูงวัยติดเชื้อโควิดจากญาติ ก็ต้องนั่งเฝ้ารอเจ้าหน้าที่มารับหลายวัน สุดท้ายเสียชีวิตอย่างสลดคาบ้านตัวเองไป 1 ราย รวมไปถึงเรื่องราวของ หนุ่มอีสปอร์ต ถ่ายคลิปไลฟ์สดไว้ในเฟซบุ๊ก ระหว่างกักตัวเองอยู่บ้านนาน 5 วัน แต่เมื่อมีเจ้าหน้าที่มารับตัวไปอยู่โรงพยาบาลได้แค่ 2 วันก็เสียชีวิตไปแบบน่าสลด

แนวทางปฏิบัติถ้ากักตัวอยู่บ้าน

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา มีเอกสารของ กรมการแพทย์ เผยแพร่ไปทางสื่อสังคมโซเชียล เกี่ยวกับ แนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน (home isolation) (ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2564) แม้ทาง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  ออกมาชี้แจงว่า  เป็นแค่เพียงการออกคำแนะนำเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ หากกรณีมีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น  พร้อมยืนยันว่ายังไม่ถึงขั้นจะต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้ที่ติดเชื้อทุกรายจะต้องเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามหรือฮอสพิเทล ที่ทางภาครัฐกำหนด

สำหรับแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน มีรายละเอียดเกี่ยวกับ กรณี ผู้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ควรได้รับการจัดแยกเพื่อการดูแลรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรือ โรงพยาบาลสนาม หรือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ตามความเหมาะสมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการควรแยกตัวจากผู้อื่นไม่น้อยกว่า 14 วันเช่นเดียวกัน

โรงพยาบาลอาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัว อาทิ บ้านเดี่ยว หอพัก หรือคอนโดมิเนียมโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่แล้ว การจัดเตรียมสถานที่เพื่อการแยกตัวอย่างเหมาะสมให้เป็นไปตามคำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หากผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แนะนำให้แยกตัวต่อเนื่องจนครบ 1 เดือน                                                                                                          

เกณฑ์การพิจารณาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพื่อการแยกตัว 1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases) 2. มีอายุไม่เกิน 40 ปี 3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 4. มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน 5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย 2 25 กก./ม./ หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.) 6. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลพินิจของแพทย์ 7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

การดำเนินการของโรงพยาบาล 1. ประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อแยกตัวในสถานที่พักของตนเอง 2. ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การแยกตัวที่บ้าน (home isolation) ในระบบของโรงพยาบาล 3. ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray)หากพบความผิดปกติ แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 4. แนะนำการปฏิบัติตัว และจัดเตรียมปรอทวัดไข้ และ pulse oximeter ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ 5. ติดตาม ประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างการแยกตัวที่บ้าน ผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการสอบถามอาการไข้ ค่า oxygen saturation วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นระยะเวลา 14 วัน 6. จัดช่องทางติดต่อในกรณีผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้น หรือภาวะฉุกเฉิน อาทิ มีไข้ลอย หอบเหนื่อย หายใจลำบาก 7. จัดระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล และ 8. ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาล

คู่มือดูแลตัวเองสู้โควิดฯ

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 63 ทาง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เคยออกหนังสือ สู้โควิด-19ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน  มาแล้วเช่นเดียวกัน เกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติเมื่อต้องกักตัว 14 วัน ไล่ตั้งแต่เตรียมที่พักและอุปกรณ์อย่างไรให้พร้อม, ข้อปฏิบัติกรณีอยู่บ้านคนเดียว ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ที่ต้องกักตัว กรณีอยู่ร่วมกับครอบครัว/พักร่วมกับผู้อื่นข้อปฏิบัติของคนในครอบครัว ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ที่ต้องกักตัวกรณีอยู่ในอาคารชุด (หอพัก คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์) ฯลฯ

เมื่อต้องกักตัวเอง 14 วัน คือเตรียมที่พักและอุปกรณ์ให้พร้อม 1.แยกห้องนอนและห้องนํ้าออกจากผู้อื่น (ห้องพัก โปร่ง มีอากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง) 2.แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้า) แยกทําความสะอาด 3.มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์เจลเข้มข้นอย่างน้อย 70% หน้ากากอนามัย สบู่  4.มีอุปกรณ์ทําความสะอาด เช่น ถุงขยะ โดยจัดถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดไว้นอกบ้าน นํ้ายาทําความสะอาด ฯลฯ

หลังจากจัดเตรียมห้องพักและอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ข้อปฏิบัติ วัดอุณหภูมิทุกวัน ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส, แยกห้องนอน แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วนํ้าโทรศัพท์) รวมทั้งแยกทําความสะอาด, แยกรับประทานอาหาร ตักแบ่งอาหารมารับประทานต่างหาก ล้างภาชนะด้วยนํ้ายาล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด  ล้างมือด้วยนํ้าและฟอกสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์, ปิดปากจมูกด้วยทิชชูทุกครั้งที่ไอ จาม ทิ้งทิซชูในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท และทําความสะอาดมือทันที แยกขยะที่ถูกสารคัดหลั่งเช่นหน้ากากอนามัย กระดาษทิซชูโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่นก่อนนําไปทิ้ง

ห้องนํ้าหากแยกไม่ได้ ก็ควรใช้ห้องเป็นคนสุดท้ายและทําความสะอาดทันที ปิดฝาทุกครั้งก่อนกดชักโครกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค,หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร หากจําเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร และใช้เวลาให้สั้นที่สุด  ถ้ามีอาการไข้ อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดเนื้อปวดตัว หนาวสั่น มีอาการระบบทางเดินหายใจ ไอ จาม เจ็บคอ มีนํ้ามูก หายใจลําบาก ให้รีบโทรแจ้ง 1669 เพื่อมารับตัว

เปิดประสบการณ์กักตัว 14 วัน

ภาครัฐต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัดต่างตื่นตัวเป็นอย่างมาก นอกจากเฝ้าระวังไม่ให้ติดเชื้อแล้ว บางคนก็ยังนั่งขบคิดว่า หากตัวเองต้องติดเชื้อ แต่โรงพยาบาลยังไม่มีเตียงรักษา ในเมื่อไม่มีอาการรุนแรง ถ้าจำเป็นต้องกักตัวเองในบ้านพักจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ทีมข่าว 1/4 Special Report  ได้เคยสัมภาษณ์พิเศษ นางวัชราภรณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ลูอิส ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ซึ่งถ่ายทอดประสบการณ์การติดไวรัสโควิด-19 แต่ไม่ได้ไปโรงพยาบาลเพราะอาการไม่รุนแรงต้องกักตัวรักษาตัวเองอยู่บ้านพัก จึงขอนำข้อมูลมาเผยแพร่อีกครั้งเพราะได้บันทึกเกี่ยวกับอาการป่วยไล่ลำดับไว้น่าสนใจดังนี้ อาการหลังติดเชื้อโควิด ระหว่าง วันที่  14 เจ็บคอแบบระคายเคืองไม่รุนแรง ตื่นเช้ามา วันที่ 5  เริ่มมีอาการไอ และมีน้ำมูก, วันที่ 6 ตื่นมาช่วงราวตีสามเนื่องจากเจ็บคอมาก จนมีอาการปวดหัว และปวดรอบเบ้าตามาก, วันที่ 78  ยังคงมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก มีไข้ต่อเนื่องกินยาบรรเทาไข้ โดยความรู้สึกไม่มีความหิว แต่จะต้องจิบน้ำให้มาก ๆ, วันที่ 9 มีอาการท้องเสีย, วันที่ 10-1112 ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รสชาติ, วันที่ 13 เริ่มได้กลิ่น ได้รสชาติกลับมา กระทั่ง วันที่ 14 จึงเริ่มเข้าสู่ภาวะอาการดีขึ้น แต่ยังไอ มีน้ำมูก ปวดหัว เจ็บคออยู่

ช่วงที่อันตรายและร้ายแรงที่สุด คือตั้งแต่วันที่ 6 ถึงวันที่ 12 ต้องต่อสู้กับอาการไอ มีไข้ ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตัว และระบบหายใจ หอบเหนื่อยง่ายมาก ๆ ต้องทานยาต่อเนื่อง ร่างกายอ่อนแอมากที่สุดขนาดเดินแค่ไปกลับเข้าห้องน้ำก็เหนื่อยมากจนหายใจแทบไม่ทัน หลังจากหายป่วยแล้วกว่าร่างกายจะเข้าสู่ภาวะปกติเหมือนเดิมจะอยู่ที่ 4-8 สัปดาห์

นางวัชราภรณ์ กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ว่า โชคดีที่แฟนเป็นแพทย์ทำให้เราสามารถดูแลกันที่บ้านได้ ในสหรัฐคนที่มีอาการทางเดินหายใจมาก ๆ จะต้องไปอยู่ที่โรงพยาบาล ส่วนคนที่มีอาการไม่มากจะให้พักฟื้นที่บ้าน เพราะเตียงในโรงพยาบาลเต็มหมด สิ่งที่อยากแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโควิด คือ ควรจะนอนราบให้น้อยที่สุด นั่งให้มาก เพื่อให้ปอดไม่มีปัญหา พยายามลุกเดินบ้างเพื่อให้ปอดได้ทำงาน เพราะผู้เสียชีวิตหลายคนนอนราบทั้งวัน ทำให้ปอดไม่ได้ทำงาน ส่วนช่วงที่หายใจไม่สะดวกควรจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ ขณะที่ช่วงเวลาที่ไม่อยากทานอาหาร ควรจะฝืนกิน แม้จะต้องอ้วกออกมาก็ตาม การฟื้นตัวจากโควิดก็เป็นไปตามลำดับ ดังนั้นบทเรียนที่เจอในสหรัฐอเมริกาจึงอยากจะฝากถึงคนไทยให้ช่วยกันป้องกันตัวเองและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด.

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.