ภาพรวมสินค้าไอทีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเทรนด์ Work From Home, Learn From Home แต่เพราะปัญหาซัพพลายเชนจึงทำให้สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ภาพรวมปีนี้คาดว่าจะมียอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กราว 2.8 ล้านเครื่อง
สำหรับแอดไวซ์เองในช่วงไตรมาสแรกถือว่าทำได้ดีอย่างมาก แต่ในช่วง 2 เดือนหลังของไตรมาส 2 รายได้กลับไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แอดไวซ์ยังไม่ปรับเป้าที่วางไว้ 19,000 ล้านบาท เติบโต 25% เนื่องจากวางแผนกิจกรรมการตลาดเพื่อกระตุ้นช่วยครึ่งปีหลังไว้รับมือ
“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โควิดทำให้ตลาดไอทีเติบโตมาก แต่มาปีนี้เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เราก็เริ่มเห็นผลกระทบในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่เรายังยืนยันไม่ปรับเป้าการเติบโต” ณัฎฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด กล่าว
ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แอดไวซ์พยายามเจาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุ 15-35 ปี จากเดิมกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยแอดไวซ์ได้ขยายสาขาในกรุงเทพฯ มากขึ้น และ งบการตลาด 70% อัดที่ออนไลน์ มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์และการแข่งขันอีสปอร์ตเพื่อจับกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงการเป็นสปอนเซอร์ The Match Bangkok Century Cup 2022
“เราพยายามจับกลุ่มคนรุ่นใหม่เพราะจะได้ขยับจากยอดซื้อสินค้าจากกลุ่ม Low-Mid ไปเป็นกลุ่ม Mid-Hight ซึ่งเราก็เริ่มเห็นว่าราคาเฉลี่ยในการซื้อสินค้าก็เพิ่มจาก 22,000-23,000 บาทเป็น 26,000-28,000 บาท โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเกมมิ่งที่ขายดี อย่างสินค้าราคาหลัก 50,000 ขึ้นไปก็เริ่มขายได้มากขึ้น” จักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด
สำหรับกลยุทธ์ครึ่งปีหลังนี้ จะมีการจัด โรดโชว์ “THE WAY OF GAMING” คาราวานธีมอีสปอร์ตที่จะเดินทางทัวร์ทั่วประเทศรวมทั้งหมด 63 จังหวัด รวมถึงการเปิดหน้าร้านใหม่อีก 10 สาขา และรีโนเวตเพิ่มอีก 30 สาขา ปัจจุบัน แอดไวซ์มีสาขารวม 335 สาขา เป็นของตัวเอง 108 แฟรนไชส์ 227 สาขา และสาขาที่ลาว 15 สาขา
“2-3 ปีที่ผ่านมา เราพยายามเพิ่มกลุ่มกลาง-บน โดยเรามีการปรับสัดส่วนในการแสดงสินค้าใหม่ให้เป็นไปตามกลยุทธ์ มีการปรับรีโลเคชั่น มีการรีโนเวต เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย”
‘แอดไวซ์’ สิงห์ไอทีภูธรขอผงาดเข้ากรุงด้วยแมตช์ ‘แดงเดือด’ หวังยกระดับแบรนด์ก่อน IPO
นอกจากฝั่งลูกค้าทั่วไป แอดไวซ์ได้เพิ่มทีมที่จะจับตลาดองค์กร โดยเพิ่มทีมเซลล์โดยเฉพาะ เบื้องต้นจะเน้นที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก่อน นอกจากนี้ ฝั่งของออนไลน์ แอดไวซ์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการขายทั้งโซเชียลคอมเมิร์ซ (Facebook, Line), อีคอมเมิร์ซ (Lazada, Shopee, JD.Central) และในปีนี้แอดไวซ์จะเพิ่มช่องทาง Instagram เพื่อเพิ่มยอดขายออนไลน์
ในส่วนของราคาน้ำมัน แอดไวซ์เองก็ได้ผลกระทบโดยต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นถึง 20% แต่แอดไวซ์ยังไม่มีการปรับราคาค่าส่ง เนื่องจากต้นทุนดังกล่าวเป็นส่วนน้อยของบริษัท ทำให้ไม่กระทบมากนัก
“แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำแต่เรายังเห็นดีมานด์แฝง อย่างที่เราหันไปจับ B2B มากขึ้น ก็เพราะเรายังเห็นถึงความต้องการการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างตลาดคริปโตดร็อป แต่กลุ่มเกมเมอร์ยังเติบโต แน่นอนว่าปัญหาเศรษฐกิจมันอาจทำให้ดีมานด์ช็อก แต่เดี๋ยวก็กลับมา แต่คงไม่ได้โตมากเหมือนช่วงโควิด”
ปัจจุบัน แอดไวซ์มียอดขายจากหน้าร้าน 58%, ช่องทางออนไลน์ 19%, แฟรนไชส์ 14% และลูกค้าองค์กร 9%
ในส่วนเรื่องการ IPO ปัจจุบันผ่านขั้นตอนการตรวจสอบด้านระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการออก IPO แล้ว เหลือเพียงตั้งคณะกรรมการให้ถูกต้อง และยื่นเอกสารอื่น ๆ เท่านั้น แต่ปีนี้อาจไม่ทัน คาดว่าปีหน้าจะได้ออก IPO แน่นอน
“เครือซีพี” เบื้องหล…
This website uses cookies.