eSport Sponsored

โควตาบอลโลก 8 ทีม ถ้าไทยจะไปต้องจัดการดีรอฟ้าลิขิตไม่ได้!

eSport Sponsored
eSport Sponsored

ศึกฟุตบอลโลก 2026 ที่สหรัฐอเมริกา,แคนาดา และ เม็กซิโก เป็นเจ้าภาพร่วมกันทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) จะมีการเพิ่มทีมในรอบสุดท้ายจาก 32 ทีมเป็น 48 ทีม แน่นอนว่าทุกทวีปจะได้รับอานิสงส์ในเรื่องของการเพิ่มทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

    ซึ่งการประกาศครั้งนี้ทำให้หลายชาติที่มีความหวังอยากไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพตัวเองมากขึ้น เพื่อไปถึงฝันที่วางไว้โดยตลอดเส้นทางนอกเหนือจากการจัดการการวางแผนที่ดีแล้วงบประมาณต่างๆจะถูกนำมาใช้ในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการพัฒนาองค์รวมของทีมชาติ ซึ่งก็จะไปเกี่ยวโยงในเรื่องของโครงสร้างทั้งลีกสูงสุดลีกรองลีกล่างรวมไปถึงลีกเยาวชน โดยจะเป็นบันไดในการขยับก้าวเดินขั้นต่อขั้นเพื่อไม่ให้ผู้เล่นตกหล่นในเรื่องของการเติมเต็มความสามารถในแต่ละรายการระหว่างทางมากเกินไป

     ในส่วนของทวีปเอเชียจะได้โควต้า 8 ที่นั่งสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจากเดิมที่เคยได้โควต้า 4.5 ทีมทวีปเอเชียมีสมาชิกทั้งหมด 46 ชาติที่แข่งขันในฟุตบอลเอเชียรายการ ยู 19-ชุดใหญ่ทุกอีเวนต์

    นี่คือบรรดาเหล่าทีมเอเชียที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียทุกรุ่นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาตั๋ว 8 ใบถ้าไม่รอเรื่องฟ้าลิขิตในการจับสลากถ้ามองจากภาพนี้จะเห็นอะไรชัดขึ้นนอจากทีมขาประจำแล้วยังมีทีมที่พัฒนาโครงสร้างความสำเร็จได้แข็งแรงจ่อแล้วจ่ออีก ซึ่งการจับสลากจัดการแข่งขันทุกรายการในแต่ละครั้งเอาผลงานมาเป็นตัวจัดอันดับทีม

    ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกโซนเอเชีย รอบสุดท้าย

     – 2022 (12ทีม) : ญี่ปุ่น WC,เกาหลีใต้ WC,อิหร่าน WC,ซาอุดิอาระเบีย WC,ออสเตรเลีย PLAY OFF,ยูเออี,เลบานอน,โอมาน,จีน,ซีเรีย,อิรัก,เวียดนาม(กาตาร์-เจ้าภาพฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย)

    – 2018 (12ทีม) : ญี่ปุ่น WC,เกาหลีใต้ WC,อิหร่าน WC,ซาอุดิอาระเบีย WC,ออสเตรเลีย PLAY OFF ,อุซเบกิสถาน,ซีเรีย,ยูเออี,จีน,กาตาร์,อิรัก,ไทย

    – 2014 (10ทีม) : ญี่ปุ่น WC,เกาหลีใต้ WC,อิหร่าน WC,ออสเตรเลีย WC,จอร์แดน PLAY OFF,โอมาน,อิรัก,กาตาร์,เลบานอน,อุซเบกิสถาน

    – 2010 (10ทีม) : ญี่ปุ่น WC,เกาหลีใต้ WC,เกาหลีเหนือ WC,ออสเตรเลีย WC,บาห์เรน PLAY OFF,ซาอุดิอาะเบีย,กาตาร์,อิหร่าน,อุซเบกิสถาน,ยูเออี

    – 2006 (8ทีม) : ญี่ปุ่น WC,เกาหลีใต้ WC,อิหร่าน WC,ซาอุดิอาระเบีย WC,บาห์เรน PLAY OFF,อุซเบกิสถาน,เกาหลีเหนือ,คูเวต

    – 2002(10ทีม) : จีน WC,ซาอุดิอาระเบีย WC,อิหร่าน PLAY OFF,ยูเออี,บาห์เรน,อิรัก,ไทย,โอมาน(ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้ เจ้าภาพฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย)

    ฟุตบอลเอเซียนคัพ รอบสุดท้าย

    – 2023 (24ทีม) : ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,ซาอุดิอาระเบีย,อิหร่าน,ออสเตรเลีย,ยูเออี,อิรัก,เลบานอน,โอมาน,ซีเรีย,จีน,เวียดนาม,กาตาร์ (เหลือรอบคัดเลือกอีก 11 ทีม)

    – 2019 (24ทีม) : กาตาร์(แชมป์),ญี่ปุ่น(รองแชมป์),เกาหลีใต้,อิหร่าน,ซาอุดิอาระเบีย,ออสเตรเลีย,อุซเบกิสถาน,ซีเรีย,ยูเออี(เจ้าภาพ),จีน, อิรัก,ไทย,บาห์เรน,เวียดนาม,จอร์แดน,ปาเลสไตน์,อินเดีย,เยเมน,เกาหลีเหนือ,คีกีซสถาน,เติร์กเมนิสถาน,เลบานอน,โอมาน

    -2015 (16ทีม) : ออสเตรเลีย(เจ้าภาพ-แชมป์),เกาหลีใต้(รองแชมป์),ญี่ปุ่น,บาห์เรน,เกาหลีเหนือ,ยูเออี,ซาอุดิอาระเบีย,โอมาน,อุซเบกิสถาน,กาตาร์,อิหร่าน,คูเวต,จอร์แดน,อิรัก,จีน,ปาเลสไตน์

    -2011 (16ทีม) : ญี่ปุ่น(แชมป์),ออสเตรเลีย(รองแชมป์),กาตาร์(เจ้าภาพ),อิรัก,ซาอุดิอาระเบีย,เกาหลีใต้,อินเดีย,อุซเบกิสถาน,ซีเรีย,อิหร่าน,จีน, บาห์เรน,เกาหลีเหนือ,ยูเออี, คูเวต,จอร์แดน

    -2007 (16ทีม) : อิรัก(แชมป์) ,ซาอุดิอาระเบีย(รองแชมป์),ไทย,เวียดนาม,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย(เจ้าภาพร่วม 4 ชาติ), ออสเตรเลีย,โอมาน,เกาหลีใต้,ญี่ปุ่น,อิหร่าน,บาห์เรน,ยูเออี,อิรัก,อุซเบกิสถาน,กาตาร์

    – 2004 (16ทีม) : ญี่ปุ่น(แชมป์),จีน(เจ้าภาพ-รองแชมป์), คูเวต,ซาอุดิอาระเบีย,อินโดนีเซีย,โอมาน,อิรัก,บาห์เรน,เกาหลีใต้,จอร์แดน,ยูเออี,อุซเบกิสถาน,กาตาร์,อิหร่าน,ไทย,เติร์กเมนิสถาน

    -2000 (12ทีม) : ญี่ปุ่น(แชมป์),ซาอุดิอาระเบีย(รองแชมป์),เลบานอน(เจ้าภาพ),อิรัก,เกาหลีใต้,อุซเบกิสถาน,คูเวต,อินโดนีเซีย,ไทย,กาตาร์,อิหร่าน,จีน

    ฟุตบอล 23 ปี ชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย

     – 2022 (16ทีม) : อุซเบกิสถาน(เจ้าภาพ),อิหร่าน,กาตาร์,เติร์กเมนิสถาน,อิรัก,ออสเตรเลีย,คูเวต,จอร์แดน,ไทย,เกาหลีใต้,มาเลเซีย,เวียดนาม,ญี่ปุ่น,ซาอุดิอาระเบีย,ทาจิกิสถาน,ยูเออี

    – 2020 (16ทีม) : เกาหลีใต้(แชมป์),ซาอุดิอาระเบีย(รองแชมป์),ไทย(เจ้าภาพ),บาห์เรน,ออสเตรเลีย,อิรัก,กาตาร์,ญี่ปุ่น,ยูเออี,อุซเบกิสถาน,จอร์แดน,เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น,จีน,เวียดนาม,อิหร่าน(เกาหลีใต้,ซาอุฯ,ออสเตรเลีย ได้ตั๋วอลป.)

    – 2018 (16ทีม) : อุซเบกิสถาน(แชมป์),เวียดนาม(รองแชมป์),จีน(เจ้าภาพ),ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,อิรัก,กาตาร์,เกาหลีเหนือ,จอร์แดน,ออสเตรเลีย,ซีเรีย,ซาอุดิอาระเบีย,ไทย,โอมาน,มาเลเซีย,ปาเลสไตน์

    – 2016 (16ทีม) : ญี่ปุ่น(แชมป์),เกาหลีใต้(รองแชมป์),กาตาร์(เจ้าภาพ),อิรัก,อิหร่าน,จอร์แดน,ซาอุดิอาระเบีย,ซีเรีย,ออสเตรเลีย,เกาหลีเหนือ,ไทย,เวียดนาม,เยเมน,อุซเบกิสถาน,เยเมน,ยูเออี(ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,อิรัก ได้ตั๋ว อลป.)

    – 2013 (16ทีม) : อิรัก(แชมป์),ซาอุดิอาระเบีย(รองแชมป์),โอมาน(เจ้าภาพ),เกาหลีเหนือ,ออสเตรเลีย,เกาหลีใต้,ญี่ปุ่น,อุซเบกิสถาน,ยูเออี,จีน,ซีเรีย,อิหร่าน,จอร์แดน,เยเมน,คูเวต,เมียนมาร์

    ฟุตบอล 19 ปี ชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย

    – 2020 (16ทีม) : อุซเบกิสถาน(เจ้าภาพ),อิรัก,กาตาร์,ทาจิกิสถาน,อิหร่าน,บาห์เรน,ซาอุดิอาระเบีย,ออสเตรเลีย,ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,มาเลเซีย,อินโดนีเซีย,ลาว,เวียดนาม,เยเมน,กัมพูชา(ยกเลิกการแข่งขันเนื่องจากโควิด-19)

    – 2018 (16ทีม) : ซาอุดิอาระเบีย(แชมป์),เกาหลีใต้(รองแชมป์),อินโดนีเซีย(เจ้าภาพ),ยูเออี,ทาจิกิสถาน,กาตาร์,จอร์แดน,จีน,เวียดนาม,ญี่ปุ่น,อิรัก,ไทย,ไต้หวัน,เกาหลีเหนือ,มาเลเซีย,ออสเตรเลีย

    – 2016 (16ทีม) : ญี่ปุ่น(แชมป์),ซาอุดิอาระเบีย(รองแชมป์),บาห์เรน(เจ้าภาพ),กาตาร์,เกาหลีเหนือ,อุซเบกิสถาน,ไทย,ยูเออี,จีน,ออสเตรเลีย,เกาหลีใต้,อิรัก,เยเมน,อิหร่าน,เวียดนาม,ทาจิกิสถาน

    -2014 (16ทีม) : กาตาร์(แชมป์),เกาหลีเหนือ(รองแชมป์),เมียนมาร์(เจ้าภาพ),เกาหลีใต้,อิรัก,อุซเบกิสถาน,ญี่ปุ่น,ออสเตรเลีย,อิหร่าน,ยูเออี,ไทย,จีน,อินโดนีเซีย,โอมาน,เวียดนาม,เยเมน

    – 2012 (16ทีม) : เกาหลีใต้(แชมป์),อิรัก(รองแชมป์),ยูเออี(เจ้าภาพ),เกาหลีเหนือ,ออสเตรเลีย,ซาอุดิอาระเบีย,ญี่ปุ่น,อุซเบกิสถาน,จีน,ซีเรีย,อิหร่าน,เวียดนาม,ไทย,จอร์แดน,กาตาร์,คูเวต

    – 2010 (16ทีม) : เกาหลีเหนือ(แชมป์),ออสเตรเลีย(รองแชมป์),จีน(เจ้าภาพ),ยูเออี,อุซเบกิสถาน,เกาหลีใต้,ซาอุดิอาระเบีย,ญี่ปุ่น,อิหร่น,ไทย,อิรัก,จอร์แดน,ซีเรีย,เยเมน,เวียดนาม,บาห์เรน

    – 2008 (16ทีม) : ยูเออี(แชมป์),อุซเบกิสถาน(รองแชมป์),ซาอุดิอาระเบีย(เจ้าภาพ),เกาหลีเหนือ,ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,จอร์แดน,จีน,อิรัก,ออสเตรเลีย,อิหร่าน,ไทย, ทาจิกิสถาน,ซีเรีย,เยเมน,เลบานอน

    – 2006 (16ทีม) : เกาหลีเหนือ(แชมป์),ญี่ปุ่น(รองแชมป์),อินเดีย(เจ้าภาพ),ออสเตรเลีย,จีน,อิหร่าน,อิรัก,จอร์แดน,เกาหลีใต้,คีกีซสถาน,มาเลเซีย,ซาอุดิอาระเบีย,ทาจิกิสถาน,ไทย,ยูเออี,เวียดนาม 

    – 2004 (16ทีม) : เกาหลีใต้(แชมป์),จีน(รองแชมป์),มาเลเซีย(เจ้าภาพ),อินโดนีเซีย,อินเดีย,อิหร่าน,อิรัก,ญี่ปุ่น,ลาว,เนปาล,กาตาร์,ซีเรีย,ไทย,อุซเบกิสถาน,เวียดนาม,เยเมน

    – 2002 (12ทีม) : เกาหลีใต้(แชมป์),ญี่ปุ่น(รองแชมป์),กาตาร์(เจ้าภาพ),บังคลาเทศ,จีน,อินเดีย,ซาอุดิอาระเบีย,ไทย,ยูเออี,เวียดนาม,ซีเรีย,อุซเบกิสถาน

    – 2000 (10ทีม) : อิรัก(แชมป์),ญี่ปุ่น(รองแชมป์),อิหร่าน(เจ้าภาพ),จีน,เกาหลีใต้,คูเวต,โอมาน,ปากีสถาน,ไทย,ยูเออี 

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.