เมื่อพูดชื่อ Garena, Shopee และ ShopeePay คงไม่ต้องอธิบายว่าบริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจอะไรและประสบความสำเร็จขนาดไหน แต่น่าจะมีคนอีกไม่น้อยที่ไม่รู้ว่ายานแม่ผู้ขับเคลื่อนความยิ่งใหญ่ของธุรกิจเทคโนโลยีเหล่านี้มีนามว่า ‘Sea (Thailand)’
ในต่างประเทศ Sea เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อได้นำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อปี 2017 และในตอนนั้น Sea ยังเป็นยูนิคอร์นสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน
และปี 2022 ถือเป็นปีสุดพิเศษของ Sea (Thailand) เพราะครบรอบ 10 ปีของการเข้ามาให้บริการในประเทศไทย และการเป็นองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ชีวิตของคนไทยมีความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและกระเป๋าเงินออนไลน์ที่ช่วยให้คนไทยช้อปง่าย จ่ายสะดวก หรือการสร้างคอมมูนิตี้ของคนเล่นเกมให้เป็นมากกว่าความบันเทิง แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพในวงการเกมและวงการดิจิทัล
ครบรอบ 10 ปี Sea (Thailand) จะมีความพิเศษอะไรมอบให้กับคนไทย THE STANDARD ขออุบเอาไว้ท้ายบทความ ตอนนี้ขอชวนไปติดตามเส้นทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ ‘คนไทย’ ของ Sea (Thailand) ตลอด 10 ปีกันก่อน
นับตั้งแต่ Sea บินจากสิงคโปร์เพื่อแลนดิ้งบนพื้นแผ่นดินไทยในปี 2012 พร้อมพา Garena ธุรกิจเกมออนไลน์มาเปิดตลาด ท่ามกลางยุคแห่งกระแสต่อต้านเกมออนไลน์ เพราะถูกมองเป็นสิ่งมอมเมาผู้เล่น
โจทย์ที่ Sea ต้องตีแตกคือ ทำอย่างไรจะสื่อสารให้คนเข้าใจว่าเกมไม่ได้มีไว้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังสามารถพัฒนาไปเป็นกีฬา จัดเป็นเกมการแข่งขัน และอาจไปไกลจนกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้จากเกม Sea จึงนำอีสปอร์ตมาตรฐานสากลเข้ามาในประเทศไทย และพัฒนาวงการอีสปอร์ตไทยอย่างจริงจัง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเล่นเกมเป็นกีฬาหรือเล่นอย่างสร้างสรรค์ สามารถนำโอกาสอะไรมาให้กับสังคมไทยได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ หรือโอกาสการโปรโมตประเทศในระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และการจัดอีเวนต์ขนาดใหญ่
จนถึงวันนี้ Garena ประเทศไทย ถูกยกให้เป็นผู้นำในการให้บริการเกมออนไลน์ของเมืองไทย ที่มีความโดดเด่นในการเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ยอดนิยมระดับโลกอย่าง Arena of Valor (RoV), Garena Free Fire, FIFA Online 4, CALL OF DUTY®: MOBILE และ Blockman GO! และเป็นผู้นำในการจัดการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตในระดับมาตรฐานสากลและระดับนานาชาติของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Sea ตอกย้ำว่าเกมไม่ใช่แค่ความบันเทิง ด้วยการต่อยอดสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านความร่วมมือกับภาครัฐ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการกีฬาแห่งประเทศไทย ยกระดับมาตรฐานกีฬาอีสปอร์ตอาชีพของประเทศไทยให้เทียบเท่านานาชาติ พร้อมตั้งเป้าหมายสูงสุดให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการแข่งขันอีสปอร์ตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการจัดการแข่งขันหลายการ ทั้งระดับประชาชนทั่วไป ระดับสมัครเล่น และระดับอาชีพ เพื่อเป็นเวทีสั่งสมประสบการณ์และทักษะฝีมือเพื่อเข้าสู่วงการอีสปอร์ตในฐานะนักกีฬาอาชีพ
นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการสร้างหลักสูตรด้านเกมและอีสปอร์ตในประเทศไทย เพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงาน และสร้างเว็บไซต์ Garena Academy รวบรวมข้อมูลความรู้และทักษะที่จำเป็นของอาชีพในวงการอีสปอร์ต
เมื่อฐานที่ตั้งเริ่มมั่นคง Sea จึงขยับตัวจาก Digital Entertainment ไปจับธุรกิจให้บริการทางการเงิน เปิดตัว AirPay ซึ่งเป็น Digital Financial Services ในปี 2014 และ Shopee แพลตฟอร์ม E-Commerce ในปีถัดมา โจทย์ท้าทายของธุรกิจที่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้องคือ ต้องสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้งาน และพาร์ตเนอร์ที่ให้บริการอยู่บนแพลตฟอร์ม
มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO Sea (Thailand) เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ The Secret Sauce ถึงจุดแข็งของ Shopee ว่าเป็น Mobile Centric ในยุคที่เว็บไซต์อื่นยังเป็น Web-based ทุกการออกแบบจึงเน้นไปที่มือถือ มีความเฟรนด์ลีต่อผู้ใช้สูง ที่สำคัญยังมีการ Localization ให้เข้ากับพฤติกรรมการใช้งานคนไทย กลยุทธ์นี้นอกจากจะถูกใจนักช้อปแล้ว ในส่วนของผู้ประกอบการคนไทยก็ถูกใจที่มีตัวเลือกช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ก็เหมือนที่ Sea ย้ำเสมอ พวกเขาไม่ได้สร้างแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการกับผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังสร้างโอกาสผ่านการให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เรียนรู้วิธีเพิ่มศักยภาพของตัวเอง เพิ่มศักยภาพร้านค้า และสร้างรายได้เพิ่ม ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ Shopee University แหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ด้านการเปิดร้านค้าและเทคนิคการสร้างยอดขายต่างๆ และยังมีเวิร์กช็อปที่ชวนนักขายมือดีมาแชร์เทคนิคเพื่อให้ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน ทำให้กลุ่มธุรกิจ SMEs สามารถขยายตลาดเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นผ่านการใช้งานแพลตฟอร์ม Shopee นอกจากนี้ยังมีโครงการ Digital Opportunities for Talents (DOTs) เฟ้นหาคนมีไอเดียทดลองสร้างธุรกิจภายใต้โจทย์ ‘SME Solution Lab’ เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีไอเดียสดใหม่มาร่วมทำงานกับผู้ประกอบการ SMEs ตัวจริง ช่วยกันคิดหาโซลูชันเพื่อพัฒนาธุรกิจผ่านการขายของบน Shopee
“แม้การีนาจะเป็นธุรกิจแรก แต่วันนี้เราเป็นมากกว่าบริษัทเกม เราเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้ชีวิตคนมีความสะดวกสบายมากขึ้น คนในที่นี้จึงไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ใช้งานรายบุคคลอีกต่อไป แต่รวมถึงธุรกิจรายย่อยด้วย และเราส่งมอบคุณค่าหลากหลายด้านสู่สังคม” มณีรัตน์กล่าว
ถ้าคุณยังไม่ได้กดติดตามเฟซบุ๊ก Sea (Thailand) อาจจะยังไม่เห็นว่า Sea เริ่มทยอยปล่อยกิจกรรมสนุกๆ ออกมาบ้างแล้ว หากใครยังไม่ได้ลองเล่น สามารถเล่น Filter ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลย
Instagram: https://www.instagram.com/ar/1218383258978805/
Facebook: https://www.facebook.com/fbcameraeffects/tryit/528853088970528/
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ Sea (Thailand) พยายามพิสูจน์ตัวเองมาตลอด หาใช่การเติบโตของผลกำไรหรือจำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเพียงเท่านั้น เพราะภารกิจสู่ดวงจันทร์ของ Sea (Thailand) คือ ‘To Better the Lives of Consumers and SMEs with Technology’ หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้สะดวกสบายขึ้น และยกระดับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation
หลายปีที่ผ่านมานี้ ผู้บริหาร Sea (Thailand) หลายๆ ท่าน บอกถึงเป้าหมายการทำธุรกิจและสิ่งที่อยากเห็นมากขึ้นในอนาคต คือ การขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้าอย่างมีความหมาย สามารถสร้างอิมแพ็กจากแพลตฟอร์มที่มากกว่าการเติบโตทางธุรกิจ แต่ต้องส่งเสริมทักษะดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างรายได้และอาชีพยุคดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้คนในสังคมไทยได้จริง
และไม่ว่าจะผ่านไป 10 ปี หรือจากนี้ Sea (Thailand) จะยังคงสร้างเทคโนโลยีเพื่อ ‘คนไทย’ ได้ใช้ และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศอย่างแท้จริง
“เครือซีพี” เบื้องหล…
This website uses cookies.