eSport Sponsored
Categories: Hearthstone

เจาะลึก! Disdai เด็กหนุ่มผู้เล่น Hearthstone ระดับเทพ ได้อยู่ทีมชาติไทย 2 สมัยติด

eSport Sponsored
eSport Sponsored

ถึงแม้เกม Hearthstone จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมในบ้านเราเท่าไรนัก แต่ก็ใช่ว่าในแวดวงเกมเมอร์ไทยนั้นจะไม่มีผู้เล่นเลย

ความเป็นจริง ประเทศไทยมีผู้เล่น Hearthstone เก่ง ๆ ซ่อนอยู่มากมาย แต่ด้วยการที่เกมไม่ค่อยได้รับความนิยมในไทยมากนักทำให้ไม่ค่อยมีเวทีมาแสดงฝีมือกันเหมือนกันอื่น ๆ

ในบทความนี้ เราจะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับ Disdai โปรเพลย์เยอร์ Hearthstone ชาวไทยที่ติดทีมชาติไทย Hearthstone ถึง 2 สมัยติด

ประวัติของ Disdai

วีฤทธิ์ โพธิ์พันธุ์ (ชื่อเล่น ได) หรือ Disdai เป็นผู้เล่น Hearthstone อายุ 20 ปีที่คว้าชัยชนะในการแข่งขันมามากมายตั้งแต่ทัวร์นาเมนต์ออนไลน์เล็ก ๆ จนถึงการไปแข่งเป็นตัวแทนประเทศไทยใน Asian Games 2018 และ SEA Games 2019 เลย

ได ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Bangkok Esports ว่า ก่อนหน้านี้ เขาก็เล่นเกมอื่น ๆ ที่เล่นเป็นทีมอย่างพวก Moba มาก่อนไม่ได้สนใจเกมการ์ดเป็นพิเศษ เพียงแต่มาเล่นเนื่องจากเพื่อนชวน และเห็นว่าเกมนั้นน่าสนใจเท่านั้น

Disdai ได้เผยว่า จริง ๆ แล้วเขาเคยทดลองเล่นเกม Hearthstone ในช่วงที่มันเปิดตัวมาแรก ๆ ตอนปี 2014 แต่ไม่ได้อินอะไรมากนักจึงเลิกไป

แต่เมื่อไดได้ลองเล่น Hearthstone ดูอีกครั้ง ก็พบว่าเขานั้นมีพรสวรรค์ในการเล่นเกมนี้อยู่ โดยที่ไม่รู้ตัวมาโดยตลอด

“หลังจากที่ผมกลับมาเล่นประมาณ 1 เดือน ก็ลองไปแข่งทัวร์นาเมนต์เก็บแต้มออนไลน์ของต่างประเทศดู และก็ได้แชมป์เลย ผมเลยรู้สึกว่าทำได้ดีในเกมนี้เลยแข่งมาเรื่อย ๆ”

Disdai ได้ลองเล่นเกม Hearthstone เพียงไม่กี่เดือนในปี 2017 ก็ขึ้นเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ในแรงค์ (Ladder) ของภูมิภาคอเมริกาเหนืออยู่ช่วงหนึ่ง เลยทำให้เริ่มมีชื่อเสียงในวงการมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงทีมในไทยด้วย

สู่การเป็นโปร

จากความสามารถอันโดดเด่นในการเล่น Hearthstone ก็ได้มีทีมต่าง ๆ เริ่มติดต่อไดเข้าไปเพื่อให้เป็นผู้เล่นไปแข่งในทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ

“ผมเห็นว่าช่วงนั้นมีทัวร์นาเมนต์จัดในไทย ผมเลยไปลองแข่ง และก็ทำผลงานได้ดีเรื่อย ๆ พอผมเริ่มติดแรงค์ 1 ที่ NA ก็เริ่มมีทีมมาชวน”

ในปี 2018 ทางสมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยได้เชิญผู้เล่นที่มี HPC (Hearthstone Championship Point) ให้ไปร่วมคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนไปแข่ง Asian Games 2018

“ในตอนนั้นผมถูกเชิญเพราะมี HPC เยอะสุดในไทย 4 อันดับแรก เลยได้มีโอกาสไปคัดเลือกกับผู้เล่นอีก 4 คนที่ Qualify มาแบบออนไลน์ และผมเอาชนะจนได้เป็นตัวแทนไป”

และในปี 2019 Disdai ก็ได้เป็นตัวแทนไปแข่งใน SEA Games 2019 ที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน จึงทำให้เขาเป็นโปรเพลย์เยอร์ Hearthstone คนไทยคนแรกที่ติดทีมชาติ 2 สมัยติด

เป็นโปรต้องทำอะไรบ้าง?

จากการที่ Disdai ได้เป็นโปรเพลย์เยอร์มา เขาได้เผยกิจวัตรของเขาว่า ต้องมีตารางเป็นแบบแผนไม่ใช่แค่นั่งเล่นเกมไปวัน ๆ

“ตอนแรก Routine ไม่ค่อยชัดเจนมาก แต่พอมาเป็นนักกีฬาของ SEA Games ต้องทำเป็นตารางมากขึ้น”

“ในช่วงเช้า เน้นการวิเคราะห์ Meta ต่าง ๆ จาก Social ต่าง ๆ เช่น Twitter ว่า มีใครเอา Deck ไหนขึ้นแรงค์ 1”

“ช่วงบ่าย ๆ ผมจะเอาเด็คที่เก่ง ๆ ไปลอง หรือหาเด็คที่แก้ทางไปซ้อมจริงในโหมดจัดอันดับ ไม่ก็ซ้อมกับโปรเพลย์เยอร์คนอื่น”

“ช่วงกลางคืนส่วนใหญ่จะนั่งดู Replay ที่ตัวเองเล่นไปตอนบ่ายครับ และก็ต้องมีการแบ่งเวลาไปออกกำลังกายด้วย”

ทิ้งท้ายถึงชุมชน Esports ในไทย

Disdai ได้สรุปวิธีการเป็นโปรเพลย์เยอร์แบบง่าย ๆ ว่า:

“ในตอนแรกต้องหาเกมที่อยากจะเล่นหรือชอบก่อน โดยต้องเลือกเกมที่เราใช้เวลากับมันเยอะ ๆ ได้ เพราะถ้าเลือกเกมที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัดจะทำได้ไม่ดี”

“ต่อไปต้องศึกษาตัวเกม และไม่ใช่การศึกษาธรรมดา แต่ต้องเป็นการศึกษาที่ดี”

แน่นอนว่า การเล่นเกมเก่งนั้นไม่ได้การันตีว่าเป็นโปรเพลย์เยอร์ ซึ่ง Disdai ได้เล่าว่า ต้องมีการตั้งเป้าหมายด้วย

“ผมว่ามันต้องมีการตั้งเป้าหมายชัด ๆ แบบเห็นภาพตัวเองว่า เราจะไปชิงแชมป์โลก”

และสุดท้าย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การทำให้ตัวเองมีชื่อเสียงในเกมนั้น ๆ มากขึ้น

“พยายามไต่แรงค์หรือไปลงแข่งต่าง ๆ ให้ตัวเองมีชื่อเสียงมากขึ้น เดี๋ยวก็จะมีทีมติดต่อมาหาเราเอง”

Disdai ได้ฝากทิ้งท้ายถึงชุมชน Esports ด้วยว่า ให้มาเชียร์โปรไทยใน SEA Games 2019 ด้วย:

“อยากจะชวนคนไทยมาร่วมเชียร์ทีมไทยที่กำลังจะแข่งใน SEA Games ปลายปีนี้ ให้ลุ้นได้เหรียญกันนะครับ”

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.