eSport Sponsored
Categories: ROV

RoV งานของโค้ช Esports หนักกว่าที่คิด กุนซือดี มีชัยไปกว่าครึ่ง !! (Part 2)

eSport Sponsored
eSport Sponsored

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว RoV ที่น่ารักทุกคนและผู้ติดตาม Esports ทุก ๆ ท่านในครั้งที่แล้วผมก็ได้เขียนไปเกี่ยวกับบทบาทของโค้ชในวงการ Esports (Part 1) เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปต่อกันเลยครับ

ปรับทัศนคติในการเล่น

กีฬา Esports ไม่มีความแตกต่างอะไรเลยกับกีฬาปกติ ในสายตาของชาวต่างชาติ เมื่อพวกเขามีทัศนคติแบบนี้ พวกเขาจึงใส่ใจและให้ความสำคัญในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ พวกเขาจึงให้ใจและให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งล้วนเป็นแรงผลักดันให้นักกีฬาทั้งสิ้น  และมันทำให้มาตรฐานของเราและผู้เล่นชาวต่างชาติแตกต่างกันอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างกรณี ” ไมค์ ไทสัน ” ที่รำลึกถึงโค้ชของเขา 

กัสไม่เคยสอนให้ผมอ่อนน้อมถ่อมตน ร่างกายผมไม่มีกระดูกที่ชื่อว่ายอมจำนนเลยสักอันเหล่านี้ทำให้นักกีฬามีความกล้าตัดสินใจ ทำไมถึงยกเรื่องนี้มาพูด ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยเรา “เล่นไม่ออกเวลาเจอทีมชาวต่างชาติ” และอาจจะมีเรื่องแผนที่เป็นปัจจัยร่วมด้วย

ขอยกตัวอย่าง NuNu ของทาง Buriram เคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่กลัวใครเลย กลัวแค่ตัวเองเล่นไม่ดี ต่างจากนักแข่งคนอื่น ๆ ที่ค่อนข้างเกรงชาวต่างชาติในเวลานั้นในศึก AIC 2020 NuNu เป็นคนที่แสดงศักยภาพได้ดีมาก ในการพบเจอชาวต่างชาติ เขาไม่กลัวหรือระวังแต่กลับเห็นเป็นความท้าทาย ซึ่งผลคือการเล่นของเขาต่างชาติยังยอมรับ ถ้านักกีฬาบ้านเราเป็นแบบนี้ทุกคน ก็จะส่งผลถึงฟอร์มการเล่นที่ยกระดับความมั่นใจ และรักษามาตรฐานไว้ได้

และการสร้างนักกีฬาที่ดีอาจจะต้องเริ่มที่ตรงนี้ ซึ่งถือว่าเป็นงานหนักของโค้ชทีเดียว และมีทีมหนึ่งที่พัฒนาได้ดีภายใต้แนวคิดที่ดี Valencia CF Esports ก็ทำให้เราเห็นในข้อนี้ที่แม้ผู้บริหารจะตั้งเป้าที่ 4 แต่ปัจจุบันนี้ Valencia CF Esports ที่เล่นโดยไม่มีความกดดันมากนักก็ทำได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าตอนแรกจะมีผลงานที่ไม่ดีนักแต่กลายเป็นว่าพวกเขาเป็นม้ามืดที่วิ่งเข้าสู่รอบ Play off ไปแล้ว

 

จัดการกับอารมณ์ของทีม

ใน Esports นั้นนักกีฬาต้องเจอความกดดันสูง ซึ่งทำให้สภาพจิตใจนั้นแย่ลงโดยเฉพาะช่วงผลงานไม่ดีแต่ก็มีตัวอย่างเช่น Talon Esports มีระบบในการจัดการอารมณ์ในการกดดันได้ดีหรือ Mad Team ที่สามารถทำ Reverse Swift พลิกกลับมาชนะได้ในสภาวะที่อีกเกมเดียวจะแพ้ในศึกชิงแชมป์โลก การที่พวกเขาได้รับชัยชนะในศึกนั้น การที่นักกีฬาจะผ่านสิ่งเหล่านี้ได้ มันแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พวกเขาสามารถจัดการความกดดันเหล่านี้ได้ ระบบหลังบ้านอย่างโค้ชมีส่วนอย่างมากและมันส่งผลถึงผลการแข่งจริง ๆ

ศึกษาแผนการใหม่ ๆ

การเรียนรู้แผน Meta ใหม่ ๆ และแผนที่ล้ำสมัยดังนั้นงานของโค้ชนั้นเป็นงานที่ยาก เช่นแผนบางอย่างอาจต้องมีการศึกษาและทดลองก่อน อย่างในต่างประเทศก็มีการนำแผน 4-1 มาใช้ก่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนกดดัน และยึดเลนกลางด้วยตัวตอดที่มีประสิทธิภาพ หลังจากไอเทมสายฟื้นฟูถูก Nerf เป็นต้น หรือรูปแบบที่ควรปรับเปลี่ยนได้แล้วอย่าง Buriram ไม่ค่อยสับเปลี่ยนผู้เล่นแล้วหากเทียบกับจาก Season ก่อนเรามักจะเห็นเสมอว่าทีมที่มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง ของผู้เล่นบ่อยครั้งนั้นมักประสบปัญหามากกว่าความสำเร็จ ในแง่ของการที่อยากให้คู่ต่อสู้ อ่านแผนและคาดเดาได้ยาก  แต่กลับกลายเป็นโทษกับนักแข่ง ในเรื่องที่พวกเขาไม่สามารถปรับตัวได้ 

โดยสรุปคือการผลักดันให้นักแข่งนั้นคงฟอร์มที่นิ่งไปเลย และแข็งแกร่งในตำแหน่งของตัวเองอย่างที่สุดดีกว่า การสลับสับเปลี่ยนมันทำให้เกิดอาการรวนหรือมั่วได้ ซึ่งนอกจากนักแข่งจะไม่มีความต่อเนื่องแล้ว ยังขาดความมั่นใจอีกด้วย และไม่ใช่เฉพาะนักแข่งที่ถูกสับเปลี่ยนลงมาเท่านั้น แต่เพื่อนร่วมทีมในขณะนั้น จะต้องปรับตัวกับสไตล์การเล่น ของผู้เล่นที่เข้ามาใหม่ไปพร้อมๆกัน ซึ่งสำหรับนักแข่งที่แข่งจริง ๆ แล้วจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องสนุกเลยกับการปรับตัว และแน่นอนว่ารูปแบบนี้ ถ้าไม่จำเป็นต่างประเทศจะไม่ใช้แล้วใน AIC 2020 ทาง Mad Team พิสูจน์แล้วว่าการไม่เปลี่ยนตัวเลยแข็งแกร่งขนาดไหน

รู้จักคู่ต่อสู้

นอกจากการศึกษาคู่แข่งแล้ว โค้ชยังต้องรู้จักนักแข่งของตัวเอง และแผนการฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างดีอีกด้วย ว่าแนวทางของผู้เล่นหรือสไตล์เป็นแบบไหน แล้วจะแก้อย่างไรโดยโค้ชที่ผันตัวมาจากนักแข่งจะเข้าใจรายละเอียดตรงนี้ได้ดีหน่อยเช่น JJak Moss, Munez, Firstone มาถึงตรงนี้ทาง Sanook Game ต้องขอคารวะโค้ชทุกท่านเพราะเป็นงานที่ยากและคงต้องขอฝากอนาคตของวงการ Esports ไว้กับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปครับ

แฟน ๆ เกม RoV ห้ามพลาด! การแข่งขันทายผล RoV Pro League 2021 Summer ชิงรางวัลเด็ด ๆ มากมายได้ที่ https://www.sanook.com/game/superwin/aov/ 

eSport Sponsored
อีสปอร์ต

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.